ยามากาตะ ลา ฟรองซ์

ยามากาตะ ลา ฟรองซ์

หมายเลขจดทะเบียน 99
ชื่อของ GI ยามากาตะ ลา ฟรองซ์
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2020/08/19
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดยามะงาตะ
ติดต่อที่อยู่

Yamagata Prefecture La France Promotion Association

2-8-1 Matsunami, Yamagata City, Yamagata Prefecture

พื้นที่ผลิต

"ยามากาตะ ลา ฟรองซ์" คือสาลี่ตะวันตกพันธุ์ลา ฟรองซ์ที่ปลูกใน จ.ยามากาตะ
 ลักษณะเด่นคือคุณภาพอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของพันธุ์ลา ฟรองซ์ ซึ่งได้แก่ เนื้อผลละเอียด, ฉ่ำน้ำ, มีกลิ่นหอมเฉพาะและรสชาติอร่อยนั้นได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ อีกทั้งคุณภาพยังคงเส้นคงวาด้วย เนื่องจากพื้นที่เคร่งครัดเรื่องดูแลการเพาะปลูกโดยตัดแต่งกิ่ง, เด็ดผล และส่งขายในช่วงเวลาเหมาะสมที่คำนึงถึงระยะเวลาปล่อยทิ้งให้สุกหลังเก็บเกี่ยว
 เมื่อถึงฤดูส่งขายช่วงเดือน พ.ย. - ม.ค. ปีถัดไป สัดส่วนครองตลาดขายส่งกลางกรุงโตเกียวจะเกิน 95% ทั้งในด้านปริมาณจำหน่ายและมูลค่าจำหน่าย

"ยามากาตะ ลา ฟรองซ์" ใช้สายพันธุ์ลา ฟรองซ์ในการเพาะปลูก
 วิธีเพาะปลูกทำโดยตัดแต่งให้ต้นสาลี่มีกิ่งหลักของซ้อนทับกันน้อย และมีกิ่งติดผลที่ได้รับแสงแดดจำนวนมาก มีการปลิดผลให้แต่ละช่อดอก (กลุ่มดอกไม้ที่บานจากดอกตูมหนึ่งดอก) เหลือไม่เกิน 1 ผล เพื่อขยายขนาดผลสาลี่
 สำหรับวิธีส่งขาย มีเกณฑ์ว่าแต่ละผลต้องมีน้ำหนัก 180g หรือมากกว่า แม้มีรอยแผลต้องเป็นแผลเล็กน้อย และไม่ใช่ผลเน่า นอกจากนี้ผลที่มีรอยแผลเด่นชัดและไม่ได้เน่าก็สามารถส่งขายสำหรับเอาไปแปรรูปได้ โดยไม่จำกัดน้ำหนัก
 แต่ละปี แหล่งผลิตจะกำหนดวันมาตรฐาน และส่งขายให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสาลี่ที่แสดงศักยภาพของคุณภาพเฉพาะสายพันธุ์ออกมาเต็มที่และมีคุณภาพคงเส้นคงวาได้

ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย.ที่ผลไม้ติดโรคง่าย ปริมาณฝนตกของที่นี่มีน้อยกว่าแหล่งผลิตอื่น และช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ที่สะสมอาหารไว้ในผล อุณหภูมิสูงสุดกับต่ำสุดระหว่างวันต่างกันมากถึง 9.4-10.3℃ แหล่งผลิตนี้จึงเป็นพื้นที่เหมาะสมในบรรดาแหล่งผลิตลา ฟรองซ์ในญี่ปุ่น
 ตั้งแต่ยุคปี 1980 เป็นต้นมา แหล่งผลิตได้วางแผนส่งเสริมการผลิตลา ฟรองซ์สำหรับบริโภคสด ทั้งภาครัฐและประชาชนจึงร่วมมือกันคิดค้นวิทยาการเพาะปลูก จนกระทั่งปี 1988 สถานีทดลองการทำสวนประจำจังหวัดยามากาตะ (ปัจจุบันคือสถาบันวิจัยการทำสวนและเกษตรกรรม ศูนย์วิจัยเกษตรกรรมครบวงจรประจำจังหวัดยามากาตะ ) ก็ได้ก่อตั้งวิทยาการคาดคะเนระยะเก็บเกี่ยวซึ่งกลายมาเป็นรากฐานการกำหนดวันมาตรฐานในภายหลัง กับวิทยาการปล่อยทิ้งให้สุกที่แหล่งผลิตหลังเก็บเกี่ยว
 ปี 2014 ได้จัดตั้งการประชุมส่งเสริม "ลา ฟรองซ์" จังหวัดยามากาตะ ซึ่งประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตรกับตลาด, เมืองอำเภอหมู่บ้าน และอื่นๆ ปัจจุบันก็ยังคงพยายามพัฒนาคุณภาพ "ลา ฟรองซ์" อย่างต่อเนื่อง เช่น สร้างปฏิทินเพาะปลูกที่นำวิทยาการล่าสุดมาปรับใช้ เป็นต้น
 สำหรับพื้นที่ผลิตนั้น ในปี 2016 มีพื้นที่รวม 749 เฮกตาร์ เป็นอันดับ 1 ของประเทศด้วยอัตราส่วนครอบครอง 82% ส่วนจำนวนผู้ผลิตในปี 2015 มีประมาณ 2,300 ราย ปัจจุบันได้ส่งออกไปขายที่ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ด้วย ปริมาณที่ส่งออกในปี 2018 อยู่ที่ประมาณ 13 ตัน

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น