ลูกพลับแห้งโทยามะ

ลูกพลับแห้งโทยามะ

หมายเลขจดทะเบียน 98
ชื่อของ GI ลูกพลับแห้งโทยามะ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2020/08/19
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดโทยามะ
อ.ฟุคุมิตสึ เขตปกครองนิชิโทนามิ และ อ.โจฮานะ เขตปกครองฮิกาชิโทนามิ (ส่วนหนึ่งของเมืองนันโต จังหวัดโทยามะในปัจจุบัน) จังหวัดโทยามะ ในฐานะชื่อเขตการปกครองเมื่อ 31 ต.ค. 2004 (ปีเฮย์เซย์ที่ 16)
ติดต่อที่อยู่

Federation of Toyama Hoshigaki Shipping Cooperatives (Agricultural Producers’ Cooperative Corporation)

1248 Takamiya, Nanto City, Toyama Prefecture

พื้นที่ผลิต

"ลูกพลับแห้งโทยามะ" คือลูกพลับแห้งทำจากลูกพลับพันธุ์ประจำท้องถิ่นที่เพาะปลูกมามากกว่า 300 ปีใน อ.ฟุคุมิตสึเก่าและ อ.โจฮานะเก่า นอกจากมีลักษณะเด่นตรงรูปลักษณ์ภายนอกสีเหลืองอำพัน
 กับรูปทรงกระสุนปืนใหญ่ขนาดใหญ่มีน้ำหนักแล้ว ยังเด่นที่ความหวานจัดและรสชาติกับสัมผัสการเคี้ยวที่ทานสนุกด้วย

ในพื้นที่นี้คุ้นเคยกับลูกพลับแห้งในฐานะสินค้าพิเศษของท้องถิ่นมามากกว่า 300 ปี และยังได้รับการประเมินค่าสูงในฐานะของขวัญเช่นกัน

"ลูกพลับแห้งโทยามะ" ใช้เมล็ดลูกพลับพันธุ์ "ซังจะ" การเก็บเกี่ยวลูกพลับจะใช้ชาร์ตสีเพื่อเก็บเกี่ยวในเวลาเหมาะสม
 วิธีการแปรรูปเป็นลูกพลับแห้งจะเริ่มจากการเตรียมเบื้องต้นโดยปอกเปลือกและรมกำมะถันก่อน จากนั้นจะนำไปอบแห้งขั้นแรกโดยใช้เครื่องจักรหรือตากแห้งด้วยแสงแดด และจะอบแห้งสลับกับพักการอบอีกหลายครั้ง จนกระทั่งน้ำลูกพลับระเหยออกไปหมดและสัดส่วนความชื้นหลังปอกเปลือกเหลืออยู่ 45% หรือน้อยกว่า หลังอบแห้งแล้วจะใช้มือนวด, อบแห้งด้วยถ่านหินป่นอัดก้อน (สามารถใช้วิธีอื่นที่ได้ผลเหมือนกันแทนการอบแห้งด้วยถ่านหินป่นอัดก้อนได้), ใช้มือนวด วนเวียนไปเรื่อยๆ เพื่อปรับความแข็งโดยรวมของลูกพลับและแต่งให้เป็นรูปทรงกระสุนปืนใหญ่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของ "ลูกพลับแห้งโทยามะ" ไปพร้อมๆ กัน ขั้นสุดท้ายจะอบแห้งด้วยถ่านหินป่นอัดก้อนเป็นการปิดท้าย โดยมีเป้าหมายให้สัดส่วนความชื้นหลังปอกเปลือกโดยรวมเหลือ 30% หรือน้อยกว่า
 มีการตั้งมาตรฐาน เช่น การเกาะติดของสิ่งแปลกปลอม และอื่นๆ หรือกลิ่นแปลกปลอม และอื่นๆ, ขนาด, น้ำหนักและปริมาณบรรจุ, สี, รูปทรง, ความแข็ง และอื่นๆ เป็นเกณฑ์คัดส่งขาย

พันธุ์ "ซังจะ" ที่เป็นพันธุ์ประจำท้องถิ่นนั้น อ่อนแอต่อ "โรคแอนแทรคโนส" อย่างมาก ซึ่งโรคนี้เกิดง่ายหากดินมีส่วนผสมของไนโตรเจนมาก ทำให้เป็นพันธุ์ที่ไม่เหมาะจะเอาไปเพาะปลูกในพื้นที่อื่น ขณะเดียวกันแหล่งผลิตนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมในการผลิต เพราะเป็นดินแดงที่ไม่ได้อุดมสมบูรณ์นัก
 นอกจากนี้ "ซังจะ" มีคุณสมบัติงอกขึ้นในแนวดิ่ง กิ่งหลักจะแตกจากตำแหน่งสูง ทำให้สามารถปลูกได้ต่อเนื่องในแหล่งผลิตนี้ที่เป็นพื้นที่หิมะตกมาก
 เหตุผลที่ลูกพลับแห้งฝังรากลึกในพื้นที่นี้ เชื่อว่ามาจากการที่มาเอดะ โทชิสึเนะ (1594-1658) เจ้าแคว้นรุ่นที่ 3 ของแคว้นคากะ (1) ถูกใจลูกพลับแห้งที่ผลิตในฟุคุมิตสึ จึงส่งเสริมการผลิตของแหล่งผลิต
 ตั้งแต่ปี 1935 ได้เริ่มจัดจำหน่ายในชื่อ "ลูกพลับแห้งโทยามะ" พร้อมกันนั้นตั้งแต่ประมาณปี 1955 เป็นต้นมา ได้มีการค้นหาสายพันธุ์ดีของ "ซังจะ" และสายพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกนั้นเป็นเลิศด้านให้ผลใหญ่, อัตราส่วนที่เอาไปทำลูกพลับแห้งได้, คุณภาพเนื้อลูกพลับ นอกจากนี้การปรับวิทยาการผลิตลูกพลับแห้งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและการยกมาตรฐานให้สูงขึ้น ยังถูกวางแผนควบคู่กันด้วย
 "ลูกพลับแห้งโทยามะ" ถูกส่งขายปีละประมาณ 300-400 ตัน

  1. แคว้นคากะ : หนึ่งในเขตการปกครองภายใต้ระบอบโชกุน ซึ่งเป็นกลไกปกครองสมัยเอโดะ เป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสมัยเอโดะ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอดีตจังหวัด 3 จังหวัด ได้แก่ คากะ (ตอนใต้ของ จ.อิชิคาวะในปัจจุบัน), โนโตะ (ตอนเหนือของ จ.อิชิคาวะ), เอ็จจู (จ.โทยามะ) ตระกูลมาเอดะเป็นเจ้าแคว้นปกครองมาทุกรุ่นจนกระทั่งสิ้นยุคเอโดะ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น