ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ

ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ

หมายเลขจดทะเบียน 87
ชื่อของ GI ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2019/12/10
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดชิมาเนะ
เขตฮาตะ คามิอิโต อ.ฮิกาชิอิซึโมะ เมืองมัตสึเอะ
ติดต่อที่อยู่

Shimane Prefecture Agricultural Cooperative (JA Shimane)

19-1 Tonomachi, Matsue City, Shimane Prefecture

พื้นที่ผลิต

"ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ" คือลูกพลับตากแห้ง (1) ที่ตากในกระท่อมสำหรับลูกพลับโดยเฉพาะความสูง 2-4 ชั้น
 เนื้อลูกพลับมีสีส้มเข้ม ผิวหน้ามีน้ำตาลสีขาวกระจายทั่ว แม้จะตากแห้งเพียงพอไปจนถึงใจกลางผลแต่ยังมีความนิ่มที่เหมาะสม นอกจากนี้ถึงมีค่าความหวานสูง (ประมาณ 80) แต่ก็ยังสามารถสัมผัสรสหวานคุณภาพสูงได้
 ประวัติศาสตร์กับธรรมเนียมของการผลิตลูกพลับแห้งมา 400 ปีหรือมากกว่านั้น, คุณภาพดีเยี่ยมได้รับการประเมินค่า ทำให้เป็นที่ต้องการมากโดยเฉพาะสำหรับเป็นของขวัญชั้นสูงที่มอบให้กันช่วงปลายปี (2)

วัตถุดิบของ "ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ" จะใช้ "ลูกพลับไซโจ" ที่ปลูกภายในพื้นที่ผลิต
 อีกทั้งต้นพลับที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ จะต้องทาบกิ่งมาจากต้นฐานที่เป็น "ต้นแม่ชั้นดี" เท่านั้น โดยต้นแม่คัดมาจากสายพันธุ์ที่มีระดับความหวานสูงซึ่งปลูกภายในเขตฮาตะ
 วิธีแปรรูปลูกพลับ เริ่มจากตัดก้าน, เด็ดกลีบเลี้ยง, ปอกเปลือก หลังเสร็จกระบวนการเหล่านี้แล้วจะนำไปห้อยติดกับเชือกเส้นละ 10 ผลโดยปกติ อนึ่ง เวลาห้อยติดกับเชือกจะใช้ส่วนก้านของผลลูกพลับ มีข้อกำหนดว่าจะไม่ใช้ลูกพลับที่หลังจากเด็ดกลีบเลี้ยง, ปอกเปลือกทิ้งแล้วมีน้ำหนัก 110 กรัมหรือน้อยกว่า
 ต่อมาจะเอาไปแขวนห้อยในกระท่อมลูกพลับความสูง 2-4 ชั้นที่อยู่ในพื้นที่ผลิต ตากแดดให้แห้งเพียงพอจนถึงใจกลางผล อนึ่ง จะไม่มีการรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งสิ้น
 เกณฑ์ส่งขายคือ "เนื้อลูกพลับต้องมีสีส้มเข้ม", "น้ำไม่คืนตัวกลับมา และมีความนิ่มประมาณติ่งหูของคน", "มีน้ำตาลสีขาวกระจายทั่วผิวหน้าลูกพลับตากแห้ง", "ไม่มีสิ่งแปลกปลอม"
 ลูกพลับตากแห้งที่ผ่านเกณฑ์นี้จะถูกส่งขายเป็น "ลูกพลับแห้งมารุฮาตะของฮิกาชิอิซึโมะ"

เขตฮาตะแหล่งผลิตตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของ จ.ชิมาเนะ พื้นที่นี้สามารถมองเห็นทะเลสาบชินจิ (3) กับทะเลสาบนาคาอุมิ (4) ได้
 ดินในพื้นที่นี้มีคุณสมบัติเป็นดินเหนียวสูง กักเก็บน้ำ,ปุ๋ยได้ดีเยี่ยม ระบายน้ำดี จึงเหมาะกับการปลูกลูกพลับไซโจ นอกจากนี้ยังเหมาะกับการทำลูกพลับตากแห้งด้วย เช่น มีลมประจำฤดูอันหนาวเย็นพัดตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูหนาว ทำให้กลางวันกับกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกัน เป็นต้น
 มีบันทึกหลงเหลือไว้ว่าชาวเขตฮาตะสร้างกระท่อมลูกพลับครั้งแรกในปี 1809 สันนิษฐานได้ว่ามีการผลิตลูกพลับตากแห้งด้วยวิธีตากแดดโดยใช้สถานที่ตากแห้งเฉพาะสำหรับลูกพลับตากแห้งมาตั้งแต่ประมาณ 200 ปีก่อนหน้าแล้ว
 ปัจจุบันลูกพลับไซโจผลิตโดยครอบครัวเกษตรกร 19 ครัวเรือน มีพื้นที่ประมาณ 15 เฮกตาร์ ผลผลิตเกือบทั้งหมดถูกแปรรูปส่งขายเป็นลูกพลับตากแห้ง ปริมาณส่งขายในปี 2017 อยู่ที่ประมาณ 300,000 ผล

  1. พลับตากแห้ง: ผลิตโดยนำลูกพลับฝาดที่ปอกเปลือกแล้วมาผูกเชือกแขวนไว้เพื่อตากให้แห้งในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทดี กล่าวกันว่าในญี่ปุ่นลูกพลับแห้งถือเป็นขนมในงานพิธีมาตั้งแต่กลางสมัยเฮอัน (794-1185) เป็นอย่างน้อย
  2. วัญชั้นสูงที่มอบให้กันช่วงปลายปี (ของขวัญปลายปี): ในญี่ปุ่น ผู้คนมักมอบของขวัญกันปีละ 2 ครั้งเพื่อแสดง "ความรู้สึกขอบคุณ" แก่ผู้คนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ของขวัญในฤดูร้อนเรียกว่า "โอชูเก็น" ส่วนของขวัญปลายปีเรียกว่า "โอเซโบะ"
  3. ทะเลสาบชินจิ : ทะเลสาบใหญ่อันดับ 7 ของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของ จ.ชิมาเนะ เป็นทะเลสาบน้ำกร่อย ติดต่อกับทะเลสาบนาคาอุมิผ่านทางแม่น้ำฮิอิ มีชื่อเสียงเรื่องหอยชิจิมิและปริมาณที่จับได้ครองสัดส่วนประมาณ 40% ของญี่ปุ่นทั้งหมด
  4. ทะเลสาบนาคาอุมิ : ทะเลสาบใหญ่อันดับ 5 ของญี่ปุ่นที่กินพื้นที่ครอบคลุม จ.ชิมาเนะฝั่งตะวันออกกับ จ.ทตโทริฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก (ฝั่งติดทะเล) ของทะเลสาบชินจิ เป็นทะเลสาบน้ำกร่อยแต่ต่างจากทะเลสาบชินจิตรงสัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลา เช่น ปลากะพงขาว เป็นต้น โดยปริมาณที่จับได้อยู่ทีปีละประมาณ 300-400 ตัน

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น