อิกุสะของจังหวัดคุมะโมะโตะ
อิกุสะของจังหวัดคุมะโมะโตะ
※提供元:熊本県いぐさ・畳表活性化連絡協議会
หมายเลขจดทะเบียน | 8 |
---|---|
ชื่อของ GI | อิกุสะของจังหวัดคุมะโมะโตะ |
การแบ่งประเภท | อื่นๆ |
วันที่ลงทะเบียน | 2016/02/02 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดคุมะโมะโตะ
ยะซึชิโระชิ, ฮิกาวาโจ ยะซึชิโระกุน, อุคิชิ |
ติดต่อที่อยู่ | JA Yatsushiro area JA Kumamoto Uki |
"อิกุสะของจังหวัดคุมะโมะโตะ" เป็นอิกุสะ (หญ้ากก) ที่ใช้เย็บอยู่ด้านหน้าเสื่อทาทามิเกรดสูงมีความงดงาม ได้จากการย้อมสีที่เรียกว่า "โดโระโซเมะ" ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม โครงสร้างแบบเส้นใยฝ้ายสีขาวที่อยู่ด้านในของอิกุสะนั้นมีรูปร่างที่ก่อขึ้นเป็นแบบรังผึ้งที่เรียกว่า (honeycomb) มีความหนาแน่นที่สูง มีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมทั้งในด้านประสิทธิภาพในการปรับความชื้นและการดูดซับสารที่เป็นพิษได้
จากการที่มีการปลูกอิกุสะในเขตยะซึชิโระชิ, ฮิกาวาโจ, อุคิชิ, อะสะกิริโจ จังหวัดคุมะโมะโตะซึ่งถือเป็นจำนวนประมาณ90% ของปริมาณการผลิตทั่วประเทศ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงอิกุสะก็จะนึกถึงสิ่งที่เป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์จากจังหวัดคุมะโมะโตะ
กรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมที่ดำเนินควบคู่กับประวัติศาสตร์การปลูกอิกุสะซึ่งเรียกว่าการทำ "โดโระโซเมะ" อิกุสะจะถูกนำมาจุ่มลงในสารละลายที่ได้เตรียมไว้ซึ่งได้จากการละลายดินธรรมชาติกับน้ำให้มีระดับความเข้มข้นพอเหมาะจุ่มโดยทั่วซึ่งจะดำเนินขั้นตอนนี้ในทันทีหลังจากทำการเก็บเกี่ยวอิกุสะ อิกุสะแต่ละต้นทุกซอกทุกมุมจะติดสีดิน (โดโระ) และสามารถทำให้แห้งได้อย่างทั่วถึง สีดิน (โดโระ) ที่เคลือบติดอิกุสะนั้นเพื่อเป็นการควบคุมความสูญเสียของคลอโรฟิลล์และโครงสร้างภายในของอิกุสะ สามารถทำอิกุสะคุณภาพดีที่ปรับความเงางามและโทนสีแล้วได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อเป็นการควบคุมการอบแห้งที่เกินไปและเพื่อรักษาคุณภาพของอิกุสะให้มีคุณภาพที่ยาวนานอีกด้วย
ในเขตนี้ เป็นเขตทำนาที่มีความเจริญก้าวหน้าช่วยส่งเสริมปริมาณการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เบื้องหลังที่เป็นสิ่งที่ช่วยค้ำจุนนั้นก็คือทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำ "คุมะกาวา" ที่ไหลผ่านที่ราบยะซึชิโระและน้ำบาดาล ลักษณะเด่นทางด้านภูมิอากาศคืออุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างอุณหภูมิที่ลดต่ำลงก่อนที่ที่นาจะจับตัวเป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาวเดือนมกราคม-เดือนมีนาคมและอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน และความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของความนานของช่วงเวลาที่แดดออกในตอนกลางวันของเดือนพฤษภาคมและระยะเวลาสั้นๆ ของช่วงเวลาที่แดดออกในตอนกลางวันของเดือนมิถุนายน ซึ่งส่งผลให้ก้านของอิกุสะนั้นมีก้านที่ยาว สามารถทำการปลูกอิกุสะที่ให้ผลในการเก็บเกี่ยวที่สูงและมีคุณภาพสูง เมื่อนำอิกุสะที่มีก้านยาวนี้มาใช้ในการทอด้านหน้าของเสื่อทาทามิแล้วก็จะได้เสื่อที่มีด้านหน้าสวยงามมีสีเข้ากันเป็นหนึ่งเดียว
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการปลูกอิกุสะในเขตยะซึชิโระนั้นมีความเก่าแก่ มีการบอกเล่าต่อกันมาว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ[A1] 1500 เจ้าของปราสาทในเขตนี้ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกอิกุสะภายในเขตปกครองโดยให้การคุ้มครองพิเศษซึ่งได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของที่มาของอิกุสะ ก่อนถึงสมัยเมจิอิชินนั้นได้ทำการปลูกอิกุสะเฉพาะในไม่กี่หมู่บ้าน แต่ความเปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็ได้มีการจัดตั้งเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่น โดยมีเขตยะซึชิโระเป็นศูนย์กลางและได้แพร่ขยายไปสู่เขตอุคิ, คุมะ และได้เจริญก้าวหน้ากลายเป็นเขตทำการผลิตอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1970