อิบุริกัคโค

อิบุริกัคโค

หมายเลขจดทะเบียน 79
ชื่อของ GI อิบุริกัคโค
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2019/05/08
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอะคิตะ
ติดต่อที่อยู่

Akita Prefecture Iburigakko Promotion Association
c/o Akita Prefectural Association of Small Businesses 1-47-5 Kyokuhokunishiki Town, Akita City, Akita Prefecture

http://www.chuokai-akita.or.jp/iburigakko/

พื้นที่ผลิต

"อิบุริกัคโค" คือหัวไชโป้วที่ทำด้วยวิธีผลิตเฉพาะตัวของ จ.อาคิตะ โดยจะทำให้หัวไชเท้าแห้งด้วยการรมควัน
 จุดเด่นอยู่ตรงสัมผัสการเคี้ยวที่กรอบ กลิ่นรมควันหอมกับรสหวานของหัวไชเท้ากลมกลืนกันเป็นรสชาติเฉพาะตัว ไม่เพียงเฉพาะในญี่ปุ่นที่เอาผักไปรมควันก่อนดองเท่านั้น แต่เป็นสินค้าอาหารรมควันหาทานได้ยากของโลก มีความนิยมสูงนอกจังหวัดในฐานะสินค้าอาหารพิเศษประจำ จ.อาคิตะ ขณะที่ปริมาณการผลิตผักดองทั่วประเทศลดลง แต่ปริมาณการผลิตของที่นี่กลับเพิ่มขึ้นทุกปี

"อิบุริกัคโค" ใช้หัวไชเท้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นวัตถุดิบ
 สำหรับวิธีทำนั้น ก่อนอื่นจะนำหัวไชเท้าวัตถุดิบไปรมควันทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลา 2 วันหรือมากกว่า โดยใช้ต้นไม้ใบกว้างที่มีกลิ่นและสีหอมอย่าง "โอ๊ก" หรือ "ซากุระ" เป็นต้น หลังจากนั้นนำหัวไชเท้าที่รมควันแล้วไปหมักในรำข้าวต่อเป็นเวลา 40 วันหรือมากกว่า ใช้เวลานานหมักให้สุกภายใต้อุณหภูมิต่ำจนกระทั่งกลายเป็นสินค้าได้
 อนึ่ง โดยทั่วไปสารแต่งอาหารที่ใช้ในขั้นเตรียมการจะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ จะไม่ใช้แซคคารีนรวมทั้งเกลือแกงชนิดเดียวกันเป็นสารให้ความหวาน ไม่ใช้สีเหลืองผสมอาหารเบอร์ 4 รวมทั้งสีเหลืองผสมอาหารเบอร์ 4 อะลูมิเนียมเลคเป็นสีผสมอาหาร และไม่ใช้กรดซอร์บิกรวมทั้งเกลือแกงชนิดเดียวกันเป็นสารกันบูด

"อิบุริกัคโค" เป็นอาหารดั้งเดิมเฉพาะตัวของอาคิตะซึ่งได้รับการพัฒนาเรื่อยมาท่ามกลางสภาพอากาศไม่อำนวย ในฐานะอาหารสำรองฤดูหนาวของอาคิตะที่ผลิตอาหารไม่ได้เพราะมีช่วงฤดูหนาวหิมะทับถมยาวนาน ชื่อเรียกมีที่มาจากสำเนียงอาคิตะว่า "กัคโค" ที่หมายถึงของดอง หลังจากผู้ค้าของดองในจังหวัดตั้งชื่อสินค้าเป็นครั้งแรกว่า "อิบุริกัคโค" เมื่อ ค.ศ.1967 ชื่อนี้ก็แพร่หลายในตลาดนับแต่นั้นมา
 หัวไชโป้วทั่วไปจะตากแห้งในวันที่แดดดีแล้วเอาไปดอง แต่ จ.อาคิตะเป็นจังหวัดในภูมิภาคโทโฮคุที่อยู่ติดฝั่งทะเลญี่ปุ่น ทำให้มีความชื้นสูง ตากหัวไชเท้าแห้งยาก ยิ่งกว่านั้นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูหนาวที่เป็นระยะเก็บเกี่ยวหัวไชเท้ายังมีหิมะตกบ่อย ไม่เพียงแค่ตากแห้งในวันแดดออกไม่ได้แต่เสี่ยงกลายเป็นน้ำแข็งได้ด้วย
 ด้วยเหตุนั้นเอง วิธีการเฉพาะจึงถือกำเนิดขึ้น โดยจะแขวนหัวไชเท้ากับคานในห้องแล้วใช้ไฟจากเตาผิงตากหัวไชเท้าให้แห้ง จึงค่อยนำไปดอง "หัวไชเท้ารมควันดอง" สืบทอดผ่านเกษตรกรอาคิตะมาเช่นนี้
 ในปัจจุบัน กลิ่นกับสัมผัสยามเคี้ยวที่มีความเฉพาะตัวนี้เข้ากันได้ดีกับลักษณะการรับประทานยุคปัจจุบันที่มีความเป็นตะวันตกมากขึ้น จึงถูกนำไปเสิร์ฟตามโรงแรมหรือร้านอาหารด้วยในฐานะสินค้าอาหารพิเศษของอาคิตะ ความนิยมนอกจังหวัดอาคิตะเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกปี และจำนวนผู้ผลิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ในปีงบประมาณ 2017 มีผู้ประกอบการ 17 รายและหัวไชโป้วถูกผลิตออกมา 2.78 ล้านหัว

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น