โอซาสะอุรุย
โอซาสะอุรุย
หมายเลขจดทะเบียน | 76 |
---|---|
ชื่อของ GI | โอซาสะอุรุย |
การแบ่งประเภท | ผัก ธัญพืช พัลส์ |
วันที่ลงทะเบียน | 2019/03/20 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดยามะงาตะ
เขตอาซึมะ, เขตฮอนโจบางส่วน เมืองคามิโนยามะ |
ติดต่อที่อยู่ | Yamagata Agricultural Cooperative |
พื้นที่ผลิต
คุณสมบัติพิเศษของ "โอซาสะอุรุย" อยู่ที่มีความลื่นเฉพาะตัวของอุรุย (1) อยู่เยอะ มีสัมผัสการเคี้ยวกรุบกรอบ บริเวณสีขาวบนก้านซึ่งนิยมบริโภคกันนั้นยาวกว่าอุรุยทั่วไปประมาณ 20%
ได้รับการประเมินค่าจากตลาดสูงจากลักษณะภายนอกที่แวววาวสีสดกับรสชาติอันยอดเยี่ยม ซื้อขายกันในราคาสูงกว่าอุรุยทั่วไป
"โอซาสะอุรุย" ใช้ต้นอ่อนจากการแบ่งราก "โอซาสะอุรุย" (สายพันธุ์คามิโนยามะ) ที่ปลูกภายในแหล่งผลิต และปลูกต่อภายในแหล่งผลิต
เกณฑ์คัดส่งขายคือ ไม่มีร่องรอยจากโรคกับแมลง ก้านกับใบยาว 25 ซม.หรือมากกว่า
การเพาะปลูก "โอซาสะอุรุย" เริ่มมาจากเกษตรกรที่อาศัยในเมืองคามิโนยามะได้เก็บอุรุยมาจากแหล่งที่ขึ้นบนภูเขาในเขตอาซึมะ เมืองคามิโนยามะ จากนั้นก็เอามาปลูกใกล้บ้านไว้บริโภคเองในครัวเรือนของตนเอง
แหล่งผลิตเป็นดินที่มีเถ้าภูเขาไฟ ระบายน้ำดี และเหนียวพอเหมาะ อีกทั้งหน้าดินลึก จึงเหมาะกับการปลูกอุรุย
ในแหล่งผลิต ครอบครัวผู้ผลิตตกลงร่วมกันว่า "จะไม่นำต้นอ่อนโอซาสะอุรุยออกไปนอกพื้นที่แหล่งผลิต" ปัจจุบันการเพาะปลูกจึงจำกัดอยู่แค่ภายในพื้นที่แหล่งผลิตนี้เท่านั้น
ตั้งแต่ช่วงปี 1945 ได้เริ่มนำอุรุยที่เคยบริโภคในครัวเรือนตนเองไปจำหน่ายเป็นสินค้าให้แก่ร้านขายผักผลไม้ และอื่นๆ การเริ่มส่งขายตลาดอย่างจริงจังในช่วงปี 1980 เป็นการวางรากฐานมูลค่าทางตลาดในนามของ "โอซาสะอุรุย"
ในปี 2018 พื้นที่ผลิตมีประมาณ 1.3 เฮกตาร์ ปริมาณการผลิต 7 ตัน
- อุรุย : ใบอ่อนของพืชที่ชื่อโอบากิโบชิ (Hosta montana) จะเรียกว่า "อุรุย" บริโภคในฐานะผักป่ากินได้ที่ญี่ปุ่นมาตั้งแต่โบราณ มักตัดเอาส่วนที่นิ่มตรงก้านใบออกจากราก นำไปต้มแล้วหั่นยาวพอเหมาะ รับประทานเป็นผักเครื่องเคียง นอกจากนี้ยังรับประทานโดยคลุกงา, รับประทานกับซุปมิโสะ, เมนูต้ม, ปรุงรสในน้ำส้มสายชู, เท็มปุระ