สึรุตะสตูเบน

สึรุตะสตูเบน

หมายเลขจดทะเบียน 75
ชื่อของ GI สึรุตะสตูเบน
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2019/03/20
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอะโอโมริ
เมืองสึรุตะ, เมืองอิตายานากิ (โคฮาตะ, โนนากะ, คาเคโอจิบายาชิ, คาชิวากิ, โบตันโมริ) เขตการปกครองคิตะสึการุ ,นานาสึดาเตะ เมืองโกโชกาวาระ, คาชิวาคุวาโนคิดะ เมืองสึการุ
ติดต่อที่อยู่

Tsuruta Steuben Japan’s No.1 Promotion Association
200-1 Hayase, Tsuruta, Tsuruta Town, Kitatsugaru County, Aomori Prefecture

https://steuben.jp/

พื้นที่ผลิต

"สึรุตะสตูเบน" เป็นองุ่นที่มีความหวานกว่าองุ่นทั่วไปโดยมีค่าระดับน้ำตาลที่ 18 หรือมากกว่า คุณสมบัติเด่นคือพวงใหญ่และมีจำนวนผลเยอะ แต่ละผลอวบอิ่มทำให้ทั้งพวงมีความหนาแน่น จึงเก็บไว้ได้นาน สามารถส่งขายโดยที่รสชาติกับความสดใหม่คงเดิมได้ตั้งแต่ตอนเก็บเกี่ยวเดือน ต.ค. จนถึงเดือน ก.พ. ปีถัดไป
 คุณภาพมีความเหลื่อมล้ำน้อย รสชาติและรูปลักษณ์ดี เป็นองุ่นผลิตภายในประเทศจำนวนน้อยที่สามารถหาซื้อได้หลังปีใหม่ ทำให้ถูกซื้อขายในตลาดด้วยราคาสูงกว่าองุ่นผลิตจาก จ.อื่นประมาณ 50%

"สึรุตะสตูเบน" ใช้สายพันธุ์สตูเบน
 วิธีเพาะปลูกจะใช้การแต่งเป็นรั้ว (1), การตัดแต่งยอดไม้ยาวมาก (2), การเด็ดดึง (3) หากจะเก็บไว้เป็นเวลานานก็จะเก็บรักษาโดยใส่ไว้ในถุง

แหล่งผลิตตั้งอยู่บนองศาละติจูดที่ใกล้เคียงกับนิวยอร์กซึ่งเป็นสถานที่เพาะเลี้ยงสตูเบน เป็นพื้นที่ที่มีเงื่อนไขภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝนหรืออุณหภูมิตลอดทั้งปี และอื่นๆ คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขภูมิอากาศที่ส่งเสริมให้ค่าระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นคืออุณหภูมิของกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกัน 8-10 องศาเซลเซียสในช่วงเพาะปลูก
 สตูเบนเป็นสายพันธุ์ที่สถานทดลองเกษตรกรรมนิวยอร์กได้เพาะเลี้ยง จากนั้นได้ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ.1952 และเริ่มทดลองปลูกที่ จ.อาโอโมริ จากการสนับสนุนให้ปลูกในพื้นที่ ใน ค.ศ.1984 ทำให้เกิดการสร้าง "วิธีปลูกปรับปรุงใหม่ฉบับสึการุ" ซึ่งรวมเอา "การแต่งเป็นรั้ว", "การตัดแต่งยอดไม้ยาวมาก", "การเด็ดดึง" ที่สืบทอดกลายมาเป็นวิธีเพาะปลูกในปัจจุบันไว้ด้วยกัน พร้อมกันนั้นยังสร้างวิทยาการเก็บรักษาสตูเบนไว้เป็นเวลานาน โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการปลูกแอปเปิ้ล
 ปี 2017 จำนวนเกษตรกรผู้ผลิตมีประมาณ 140 ครอบครัว ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองสึรุตะ พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 100 เฮกตาร์ ปริมาณการผลิต 1,100 ตัน และได้เติบโตเป็นแหล่งผลิตที่มีปริมาณการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น

  1. การแต่งเป็นรั้ว : วิธีปรับแต่งกิ่งโดยล่อให้กิ่งเลื้อยไปตามลวดหรือโครงที่วางไว้ระหว่างเสาค้ำจุน แต่งให้ต้นผลไม้มีรูปร่างเป็นเหมือนรั้ว
  2. การตัดแต่งยอดไม้ยาวมาก : วิธีตัดแต่งยอดไม้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดแต่งปกติแล้วจะเหลือกิ่งเอาไว้ยาว 1 เมตรหรือมากกว่า
  3. การเด็ดดึง : วิธีตัดแต่งแบบหนึ่งโดยจะเด็ดยอดอ่อนให้เหลือ 4-3 ใบ ไม่ใช่ 5 ใบที่เป็นจำนวนตามปกติในตอนก่อนดอกบาน กรณีของต้นผลไม้นั้น การเด็ดยอดอ่อนหยุดการเจริญเติบโตของยอดไม้ใหม่ จะช่วยให้ผลเจริญเติบโตดีขึ้น

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น