รักโจโบจิ

รักโจโบจิ

หมายเลขจดทะเบียน 73
ชื่อของ GI รักโจโบจิ
การแบ่งประเภท อื่นๆ
วันที่ลงทะเบียน 2018/12/27
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอิวะเทะ , จังหวัดอะโอโมริ , จังหวัดอะคิตะ
ทั่วทั้ง จ.อิวาเตะ,
เขตปกครองซันโนะแฮ เมืองฮาจิโนะเฮ เมืองโทวาดะ จ.อาโอโมริ,
เมืองโคซากะ เขตปกครองคาซึโนะ เมืองคาซึโนะ เมืองโอดาเตะ จ.อาคิตะ
ติดต่อที่อยู่

Iwate Prefecture Joboji Urushi Production Association
37-4 Shimomaeda, Joboji-machi, Ninohe City, Iwate Prefecture

พื้นที่ผลิต

"รักโจโบจิ" เป็นรัก (1) ที่นอกจากจะแข็งแรงเป็นเลิศหลังแข็งตัวแล้ว ยังมีคุณภาพเสถียรอีกด้วย คุณสมบัติพิเศษมีอยู่หลายด้าน เช่น ความโปร่งใส, เวลาในการแข็งตัว, ความเหนียว และอื่นๆ แล้วยังมีความทนทานอย่างดี ทำให้ได้รับการประเมินสูงจากศิลปินเครื่องเขินกับช่างลงรัก, ช่างซ่อมมรดกวัฒนธรรม และอื่นๆ อีกมากมาย
 "รักโจโบจิ" ถูกใช้อย่างกว้างขวางมาตั้งแต่โบราณในฐานะวัตถุดิบที่คอยพยุงค้ำจุนวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สำหรับซ่อมแซม, ปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าตาของญี่ปุ่นอย่างสมบัติของแผ่นดินหรือมรดกสำคัญทางวัฒนธรรม และอื่นๆ

ในแหล่งผลิต ผู้เก็บน้ำรักเป็นอาชีพที่เรียกว่า "ช่างกรีดยางรัก" จะเป็นผู้เก็บ "รักโจโบจิ"
 มีการตั้งเกณฑ์ส่งขายว่า "ไม่ผสมสิ่งแปลกปลอมเข้าไปโดยตั้งใจเพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มปริมาณ และอื่นๆ" "ไม่ผสมรักอื่นที่ไม่ใช่รักโจโบจิลงไป" แล้วส่งขายเป็นน้ำยางรัก (2) กับรักดิบ (3)

แหล่งผลิต "รักโจโบจิ" มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดหาสิ่งแวดล้อมเพาะปลูกที่เหมาะที่สุดสำหรับต้นรัก นับตั้งแต่มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นรักในแคว้นโมริโอกะ (4) ในสมัยเอโดะ (5)
 ตั้งแต่ยุคเมย์จิ (6) เป็นต้นมา มีการลงแรงกับวิธีดูแลจัดการแบบใหม่โดยดูแลรักษาต้นอ่อนที่งอกแล้วหลังจากโค่นต้นรักลง ทำให้ฟื้นสภาพเป็นป่าต้นรักที่เหมาะสมได้ และคอยปกป้องดูแลป่าต้นรักแหล่งกำเนิดรักโจโบจิ สืบทอดทรัพยากรต้นรักแหล่งใหญ่ที่สุดภายในประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2015 พื้นที่ปลูกต้นรักในญี่ปุ่นมี 326 เฮกตาร์ และ จ.อิวาเตะครองไปประมาณ 85% หรือ 278 เฮกตาร์
 ในแหล่งผลิต ผู้เกี่ยวข้องอย่างหน่วยงานท้องถิ่นหรือผู้ผลิตรัก และอื่นๆ ต่างรวมเป็นหนึ่งภายใต้การนำของสมาคมผลิตรักโจโบจิแห่งจังหวัดอิวาเตะ นอกจากการปลูก, เลี้ยงดูต้นรักก็ยังทุ่มเทลงแรงให้กับการสืบทอดวิทยาการกรีดยางรัก (7) ด้วย ในท้องถิ่นมีช่างเฉพาะทางที่เรียนวิทยาการกรีดยางรักแบบดั้งเดิมอยู่ประมาณ 20 คน และได้ผลิตรักหลากหลายรูปแบบที่ใช้เอกลักษณ์กับวิทยาการของช่างแต่ละคนให้เป็นประโยชน์
ผลจากการสืบทอดวิทยาการกรีดยางรักอันล้ำเลิศกับป่าต้นรัก ทำให้ปี 2015 แหล่งผลิต "รักโจโบจิ" มีปริมาณการผลิต 70% ของรักผลิตในประเทศที่กระจายอยู่ในตลาดในประเทศ

  1. รัก : สีทาจากยางไม้ธรรมชาติที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำจากไม้ ที่ญี่ปุ่นเรียกผลิตภัณฑ์ทำจากไม้ที่ทารักว่า "ชิคคิ" (เครื่องเขิน) นอกจากใช้กว้างขวางในงานหัตถกรรมและอื่นๆ ที่สืบทอดมาแต่โบราณแล้ว ยังใช้เป็นสารยึดติดด้วย รักที่ใช้ในญี่ปุ่นคือน้ำเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นไม้ที่เก็บจากต้นรัก (Toxicodendron vernicifluum) (Poison oak) ตระกูล Anacardiaceae ส่วนที่ไทยกับเมียนมาร์จะใช้รักที่แปรรูปมาจากน้ำเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นไม้ที่เก็บจากต้นรักใหญ่ (Gluta usitata)
  2. น้ำยางรัก : หมายถึงรักสดๆ ที่เก็บมาจากต้น
  3. รักดิบ : หมายถึงน้ำยางรักก่อนนำไปทำให้บริสุทธิ์ซึ่งเอาสิ่งปนเปื้อนออกไปแล้ว
  4. แคว้นโมริโอกะ : หนึ่งในการแบ่งเขตปกครองภายใต้ระบบศักดินาสมัยเอโดะ พื้นที่ตอนเหนือของ จ.มุตสึ (ตอนกลางของ จ.อิวาเตะจนถึงฝั่งตะวันออกของ จ.อาโอโมริในปัจจุบัน) ถูกมอบให้กับนัมบุ และนัมบุผู้เดียวกันนี้ได้ปกครองในฐานะผู้ครองแคว้น (เจ้าแคว้น) โมริโอกะ ในสมัยนั้นทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 250 แคว้น แต่ละท้องที่ดำเนินการปกครองด้วยระบบศักดินาภายใต้รัฐบาลบาคุฟุแห่งเอโดะที่มีโชกุนกุมอำนาจสูงสุด
  5. สมัยเอโดะ : ค.ศ.1603-1867 การแบ่งสมัยหนึ่งของญี่ปุ่น หมายถึงสมัยที่รัฐบาลบาคุฟุประจำการอยู่ในเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) โชกุนคนแรกคือโทคุกาวะ อิเอยาสึ และดำเนินการปกครองระบบศักดินาภายใต้การนำของตระกูลโชกุนโทคุกาวะมานับแต่นั้น
  6. ยุคเมย์จิ : ค.ศ.1868-1912 หนึ่งในการแบ่งยุคของญี่ปุ่น เป็นยุคที่ญี่ปุ่นผลัดเปลี่ยนจากระบบศักดินาโดยรัฐบาลบาคุฟุไปเป็นยุคสมัยใหม่
  7. การกรีดยางรัก : วิธีการที่สร้างรอยแผลบนลำต้นของต้นรัก แล้วใช้ตะหลิวโลหะปากแบบโดยเฉพาะเพื่อขูดเก็บน้ำเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นไม้ที่ไหลซึมออกมา

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น