เผือกฟุตาโกะ

เผือกฟุตาโกะ

หมายเลขจดทะเบียน 68
ชื่อของ GI เผือกฟุตาโกะ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2018/09/27
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอิวะเทะ
เมืองคิตาคามิ
ติดต่อที่อยู่

Futago Satoimo Association
1-1 Yoshi-cho, Kitakami City, Iwate Prefecture

พื้นที่ผลิต

"เผือกฟุตาโกะ" คือเผือกสายพันธุ์ตามธรรมชาติที่มีจุดเด่นตรงความเหนียวจัดกับรสชาติเข้ม, สัมผัสการเคี้ยวที่เนียนนุ่ม เป็นสินค้ายอดนิยมในพื้นที่เพราะแม้เผือกชนิดนี้มีเนื้อนิ่มแต่ไม่แตกเมื่อเอาไปต้ม อีกทั้งรสชาติอร่อย
 แม้จะสามารถเก็บเกี่ยวหัวเผือกขนาดใหญ่คุณสมบัติสม่ำเสมอทั่วกันทั้งขนาดและคุณภาพจาก "เผือกฟุตาโกะ" ได้ แต่การเก็บรักษาหัวพันธุ์กลับทำได้ยาก เนื่องจากต้องเก็บ 20% ของปริมาณเก็บเกี่ยวเอาไว้เป็นหัวพันธุ์ ทำให้ปริมาณส่งขายมีจำกัดและราคาแพง บางครั้งก็ถูกซื้อขายในราคาสูงเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับเผือกจากแหล่งผลิตอื่น

"เผือกฟุตาโกะ" ใช้ "เผือกฟุตาโกะ" สายพันธุ์ตามธรรมชาติในพื้นที่
 เพาะปลูกในเมืองคิตาคามิที่เป็นแหล่งผลิต เวลาส่งขายจะคัดออกผลผลิตที่เน่าเสีย, เสื่อมคุณภาพ, ผิดรูป, มีแผล, เสียหายจากโรคหรือแมลง, เสียหายจากน้ำค้างแข็งหรืออุณหภูมิต่ำ และอื่นๆ
 อนึ่ง ในจำนวนนี้เฉพาะผลผลิตที่มีบาดแผลไม่มาก สามารถตัดทิ้งเฉพาะส่วนนั้นแล้วส่งขายเป็นผลผลิตตกเกณฑ์ได้

แหล่งผลิต "เผือกฟุตาโกะ" ซึ่งเกิดเป็นรูปร่างโดยน้ำท่วมจากแม่น้ำคิตาคามิ (1) มีดินอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำดี ชั้นดินเพาะปลูกมีความลึก จึงเหมาะกับการปลูกเผือกที่เป็นพืชหยั่งรากลึก
 มีธรรมเนียมปฏิบัติที่ยอมรับกันมาแต่โบราณว่าหากการเก็บรักษาหัวพันธุ์ล้มเหลว ผู้ผลิตจะให้ยืมหัวพันธุ์กัน โดยสืบทอดมาพร้อมกับวิทยาการเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่ดูแลรักษาได้ยาก ทั้งพื้นที่จะรับช่วงวิทยาการที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษกับหัวพันธุ์กันมารุ่นต่อรุ่นและช่วยกันรักษาไว้

"บันทึกหมู่บ้านฟุตาโกะ" เอกสารประวัติศาสตร์ของพื้นที่ระบุไว้ว่ามูลค่าผลิตสินค้าเกษตรกรรมยุคเมย์จิ (2) ช่วงปลายนั้น เผือกมีมูลค่าเป็นรองต่อจากข้าว ทำให้ทราบว่าเผือกคือผลผลิตทำเงินสำคัญตั้งแต่สมัยนั้น
 มีการก่อตั้งสมาคมผลิตเผือกฟุตาโกะในปี 1980 เพื่อปรับวิธีคัดเลือกกับมาตรฐานส่งขายให้ใช้เกณฑ์เดียวกันและเพื่อวางแผนพัฒนาวิทยาการเพาะปลูก นับแต่นั้นการผลิตเผือกคุณภาพดีก็มีมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ครองตำแหน่งแหล่งผลิตเผือกใหญ่ที่สุดในโทโฮคุ
 ปัจจุบันในปี 2016 มีผู้ผลิตประมาณ 98 ราย ส่งขาย "เผือกฟุตาโกะ" เป็นปริมาณ 197 ตัน จากพื้นที่ 34 เฮกตาร์ภายในเมืองคิตาคามิโดยมีพื้นที่ฟุตาโกะเป็นศูนย์กลาง

  1. แม่น้ำคิตาคามิ : แม่น้ำใหญ่ที่สุดของภูมิภาคโทโฮคุ (ความยาว 249 กม.) ไหลจากตอนเหนือของ จ.อิวาเตะไปสู่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของ จ.มิยากิ ยาวเป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่น แม่น้ำคิตาคามิปรากฏในวรรณกรรมบ่อยครั้ง และถูกกล่าวถึงในผลงานของมิยาซาวะ เคนจิ (ค.ศ. 1896-1933 : นักกวี, นักแต่งนิทาน) หรืออิชิคาวะ ทาคุโบคุ (ค.ศ. 1886-1912 : นักแต่งเพลง, นักกวี) ที่มีพื้นเพเป็นคนภูมิภาคโทโฮคุด้วย
  2. ยุคเมย์จิ : ค.ศ.1868-1912 หนึ่งในการแบ่งยุคของญี่ปุ่น เป็นยุคที่ญี่ปุ่นผลัดเปลี่ยนจากระบบศักดินาโดยรัฐบาลบาคุฟุไปเป็นยุคสมัยใหม่

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น