เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ
เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ
หมายเลขจดทะเบียน | 65 |
---|---|
ชื่อของ GI | เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ |
การแบ่งประเภท | อาหารแปรรูป |
วันที่ลงทะเบียน | 2018/08/06 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดมิยากิ
อิวาเดะยามะ เมืองโอซากิ (ชื่อการแบ่งเขตบริหารของเมืองอิวาเดะยามะ เขตการปกครองทามะสึคุริ จ.มิยากิในวันที่ 30 มีนาคม 2006) |
ติดต่อที่อยู่ | JA Shinmiyagi 43-1, Daigahara, Tsukidate Aza Terukoshi, Kurihara City, Miyagi Prefecture |
พื้นที่ผลิต
"เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ" เป็นเต้าหูแช่แข็งที่มีสัมผัสการเคี้ยวแข็งเต็มไปด้วยความเด้งหนึบกับสัมผัสต่อลิ้นที่เนียนนุ่ม ความพิเศษคือวิธีการผลิตเฉพาะของท้องถิ่นทำให้เกิดรสชาติไม่พึงประสงค์น้อย มีรสถั่วเหลืองเข้มข้น สีขาวเนื้อละเอียด
เต้าหู้จะไม่แตกเละและคงรูปทรงเดิมเมื่อนำไปต้ม อีกทั้งน้ำซุปยังซึมซาบเข้าเนื้อได้ดี ในท้องถิ่นจึงได้รับการสงวนรักษาอย่างดีในฐานะวัตถุดิบดั้งเดิมที่ขาดไม่ได้ในอาหารท้องถิ่น พร้อมกันนั้นยังได้รับการประเมินอย่างสูงด้านคุณภาพ ราคาสินค้าในตลาดสูงเกิน 2 เท่าเมื่อเทียบกับเต้าหู้แช่แข็งทั่วไป
สำหรับ "เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ" เริ่มแรกจะทำโดยใช้เพียงดีเกลือและถั่วเหลืองผลิตในจังหวัดมิยากิเท่านั้น เสร็จแล้วจะน้ำเต้าหู้ที่ได้ไปตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาวด้านละ 5 ซม. จากนั้นหมักประมาณ 15 วันในตู้เย็นอุณหภูมิประมาณ -3℃
ขั้นต่อมาจะนำไปโดนน้ำให้น้ำแข็งละลาย คั้นส่วนที่เป็นน้ำเอารสฝาดกับรสไม่พึงประสงค์ออกไป แล้วนำไปแช่แข็งรอบที่ 2 ในตู้เย็น
หลังจากนั้นจะนำไปผึ่งให้แห้งกลางแจ้งหรือภายในตู้อบแห้ง
สินค้าที่ได้จะตรวจสอบโดยตาเปล่า เมื่อคัดเอาชิ้นที่รูปทรงไม่สวยออกไปแล้วจะเอาไปผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเพื่อตรวจสอบว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือไม่
กระบวนการผลิตทั้งหมดนี้ดำเนินการภายในแหล่งผลิต
แหล่งผลิต "เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ" ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่สัมผัสกับอากาศหนาวแห้งรุนแรงอย่างจังบริเวณฝั่งตะวันออกของเทือกเขาโอ (1) แต่มีหิมะน้อยและลมไม่แรงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณโดยรอบ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเหมาะสำหรับผลิตเต้าหู้แช่แข็งที่ไม่ถูกกับความชื้นและลมแรง
การผลิต "เต้าหู้แช่แข็งอิวาเดะยามะ" ถูกจัดให้เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมประจำท้องถิ่นโดยมีปรากฏอยู่ในบันทึกช่วงยุคเมย์จิ (2) ด้วย ยุครุ่งเรืองที่สุดคือ ค.ศ.1960 เคยมีผู้ผลิตถึง 86 ครัวเรือน ปัจจุบันผู้ผลิตเหลือเพียง 5 ครัวเรือน แต่วิธีการผลิตในสมัยนั้นได้รับการสืบทอดต่อมา และรักษาปริมาณการผลิตไว้ได้คงเดิมที่ประมาณ 100,000 ถุงต่อปี
ในท้องถิ่นนั้นนอกจากได้รับการสงวนรักษาให้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารท้องถิ่น โอเด้ง (3) และอาหารหม้อ ก็ยังใช้เป็นวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะสำหรับเซ็นไดโซนิ (4)(5) ที่รับประทานกันในวันขึ้นปีใหม่
- เทือกเขาโอ : เทือกเขายาวที่สุด (ประมาณ 500 กม.) ในญี่ปุ่นที่ตัดผ่านในกลางภูมิภาคโทโฮคุ ผ่าน จ.อาโอโมริ, จ.อิวาเตะ, จ.อาคิตะ, จ.มิยากิ, จ.ยามากาตะ, จ.ฟุคุชิมะ, จ.โทจิกิ
- ยุคเมย์จิ : ค.ศ.1868-1912 หนึ่งในการแบ่งยุคของญี่ปุ่น เป็นยุคที่ญี่ปุ่นผลัดเปลี่ยนจากระบบศักดินาโดยรัฐบาลบาคุฟุไปเป็นยุคสมัยใหม่
- โอเด้ง : อาหารหม้อประเภทหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของญี่ปุ่น มักทำกันในบ้านเรือนทั่วไปหรือร้านอาหาร โดยจะนำวัตถุดิบต่างๆ อย่างเต้าหู้, กันโมโดคิ (เต้าหู้บดผัดผัก), คอนเนียคุ, ฮันเป็น (เนื้อปลาขูดผสมแป้งมันนึ่งเป็นก้อนเหลี่ยม), มันฝรั่ง, หัวไชเท้า และอื่นๆ ไปต้มกับโชยุหรือมิโสะ วิธีทำแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
- โซนิ : อาหารประเภทซุปที่นำโมจิไปต้มกับผักหลายๆ ชนิด, เนื้อไก่, อาหารทะเล, ลูกชิ้น, ผลิตภัณฑ์ถั่ว และอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นมีธรรมเนียมรับประทานฉลองปีใหม่ใน 3 วันแรกของปีใหม่ (3 วันนับตั้งแต่ 1 ม.ค.)
- เซ็นไดโซนิ : โซนิของแถบพื้นที่เซ็นไดที่ใช้ปลาบู่ย่างแห้งทำน้ำซุป ใส่หัวไชเท้า, แครอท, โกโบ (อ้างอิงได้ที่ No.40 "มิโตโกโบ") ที่ซอยละเอียดเป็นเครื่องซุปและปรุงรสด้วยโชยุ จุดเด่นคือสุดท้ายจะเอาปลาบู่ย่างที่ใช้ทำน้ำซุปมาประดับเมนู