ไทชูโซบะ
ไทชูโซบะ
หมายเลขจดทะเบียน | 61 |
---|---|
ชื่อของ GI | ไทชูโซบะ |
การแบ่งประเภท | อาหารแปรรูป |
วันที่ลงทะเบียน | 2018/04/09 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดนางาซากิ
เมืองสึชิมะ |
ติดต่อที่อยู่ | Taishu Buckwheat Promotion Council To the attention of JA Tsushima Eino-bu 606-19, Nakamura, Izuhara Town, Tsushima City, Nagasaki Prefecture |
พื้นที่ผลิต
"ไทชูโซบะ" เป็นชื่อเรียกสายพันธุ์โซบะ (1) ธรรมชาติที่เพาะปลูกกันในสึชิมะ (2) ซึ่งเป็นเกาะห่างไกลแผ่นดินในจังหวัดนากาโนะ กับมุคิโซบะ, แป้งโซบะที่ทำจากเมล็ดโซบะชนิดนี้
มีรสชาติที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับโซบะจากแหล่งผลิตอื่น มีจุดเด่นตรงรสขมจางๆ ที่ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ต้นกำเนิดของโซบะ เมล็ดมีขนาดเล็กแต่ขณะเดียวกันเมล็ดกลับมีน้ำหนักมากและมีขนาดเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของ "ไทชูโซบะ"
ผู้ผลิตจะปลูก "ไทชูโซบะ" สายพันธุ์ธรรมชาติภายในพื้นที่เกาะสึชิมะ
หลังเก็บเกี่ยวแล้วจะเอาเมล็ดโซบะไปปอกเปลือก โม่ทำเป็นเมล็ดโซบะลอกเปลือกกับแป้งโซบะภายในเกาะ รวมทั้งเมล็ดโซบะดิบที่ส่งขายสำหรับรับประทาน ก็ถูกส่งขายในชื่อ "ไทชูโซบะ" ด้วยเช่นกัน
สึชิมะตั้งอยู่บนเส้นทางที่โซบะเผยแพร่จากจีนมาสู่ญี่ปุ่นผ่านคาบสมุทรเกาหลี คาดว่าเป็นสถานที่แห่งแรกในญี่ปุ่นที่ได้รับการเผยแพร่ การดูแลรักษาสายพันธุ์ตามธรรมชาติดำเนินการโดยผู้ผลิตกับคณะปกครองภายในเกาะ ภายใต้เงื่อนไขด้านชัยภูมิที่เป็นเกาะเดี่ยวห่างไกล มีโอกาสผสมข้ามพันธุ์กับโซบะของพื้นที่อื่นได้น้อย
นอกจากนี้เชื่อกันว่าการปลูกโซบะมีมาตั้งแต่อดีตเพื่อบริโภคเอง เนื่องจากสึชิมะมีที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกน้อย
รสชาติยอดเยี่ยมของ "ไทชูโซบะ" ได้รับการประเมินสูงจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ อย่างเช่นการถูกแนะนำตามสื่อ ด้วยเหตุนั้นเองปัจจุบัน "ไทชูโซบะ" จึงถูกเพาะปลูกแพร่หลายภายในเกาะในฐานะผลิตภัณฑ์พิเศษ
- โซบะ : สำหรับยุโรปและประเทศอื่นๆ เมล็ดโซบะเป็นที่รู้จักในฐานะวัตถุดิบของขนมกาแล็ต แต่ลักษณะของโซบะในญี่ปุ่นนั้นไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะนำแป้งโซบะไปนวดกับน้ำทำเป็นแป้งดิบแล้วซอยละเอียดเป็นเส้น โดยทั่วไปรับประทานโดยนำเส้นที่ต้มแล้วไปจุ่มซอสที่ทำจากน้ำต้มปลากับโชยุ
- สึชิมะ : เกาะขึ้นตรงกับจังหวัดนากาโนะ อยู่ในทะเลเก็นไคทางตอนเหนือของภูมิภาคคิวชู ทำหน้าที่เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม, เศรษฐกิจกับแผ่นดินทวีปมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากอยู่ใกล้กับคาบสมุทรเกาหลี