หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ
หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ
หมายเลขจดทะเบียน | 60 |
---|---|
ชื่อของ GI | หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ |
การแบ่งประเภท | ผัก ธัญพืช พัลส์ |
วันที่ลงทะเบียน | 2018/04/09 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดอะคิตะ
มัตสึดาเตะ ฮาจิมังไต เมืองคาซึโนะ |
ติดต่อที่อยู่ | Matsudate Shibori Daikon Cultivation Cooperative 28 Matsudate, Hachimantai, Kazuno City, Akita Prefecture |
พื้นที่ผลิต
หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ" เป็นคารามิไดคง (หัวไชเท้ารสเผ็ด) สายพันธุ์ธรรมชาติที่เพาะปลูกสืบทอดต่อกันมาในแหล่งผลิต รูปร่างเป็นทรงลิ่มกลมมน เป็นสายพันธุ์ขนาดใหญ่สำหรับคารามิไดคงที่ผลิตในญี่ปุ่น และเนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำน้อย ทำให้เนื้อแข็ง จึงมีจุดเด่นตรงที่เก็บไว้ได้นาน
น้ำคั้นจาก "หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ" ถูกนำไปใช้ในอาหารมากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงรสหรือซอสจิ้ม, โซบะหรืออุด้ง, อาหารประเภทต้มอย่างเต้าหู้ต้มหรือไคยากิ (1) , ซาชิมิ เป็นต้น
มีความเผ็ดที่แรงมากเป็นอันดับ 1,2 ในบรรดาคารามิไดคงสายพันธุ์ธรรมชาติในประเทศ แต่มีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงเมื่อเทียบกับคารามิไดคงสายพันธุ์อื่น จึงสามารถสัมผัสรสหวานของน้ำตาลซูโครสได้นอกไปจากรสเผ็ดด้วย สิ่งนี้ทำให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวที่ไม่มีในคารามิไดคงสายพันธุ์อื่น
ราคาซื้อขายในตลาดสูงเมื่อเทียบกับหัวไชเท้าทั่วไป เพราะเป็นหัวไชเท้าที่มีรสชาติที่พันธุ์อื่นไม่มี
พันธุ์ "หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ" ใช้ "อาคิตะโอนิชิโบริ" ซึ่งคัดเลือกมาจากสายพันธุ์ตามธรรมชาติ และเพาะปลูกภายในพื้นที่แหล่งผลิต
แหล่งผลิตเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีภูเขาล้อมรอบ ด้วยลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์นี้เองทำให้เป็นพื้นที่หนาวเย็นและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเยอะระหว่างกลางวันกับกลางคืน ลักษณะพิเศษนี้เหมาะจะใช้เป็นแหล่งผลิต "หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ" ที่ไม่ถูกกับความร้อนและยิ่งอร่อยหากอุณหภูมิสูงสุดกับต่ำสุดต่างกันมาก
"หัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ" เป็นสายพันธุ์ใหญ่ที่ไม่เพียงแค่เผ็ดแต่ยังมีน้ำตาลซูโครสสูงด้วย เหตุผลมาจากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ-การแข็งตัวและไม่แตกระหว่างช่วงเพาะปลูก ภายใต้เงื่อนไขด้านภูมิประเทศ-ภูมิอากาศที่มีลมหนาวพัดลงมาจากภูเขาโดยรอบกับฤดูน้ำค้างแข็งตกมาถึงเร็ว จึงทำให้ได้คุณสมบัติเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
มีประวัติศาสตร์ในพื้นที่ว่าเพาะปลูกมาตั้งแต่ 100 ปีก่อนหน้าในฐานะผลผลิตทำเงินช่วงฤดูหนาวของพื้นที่เหมือง ด้วยความที่เป็นผักจำกัดเฉพาะพื้นที่จึงมีปริมาณผลิตน้อยและส่วนใหญ่บริโภคกันแค่ภายในพื้นที่ จนไม่เคยเป็นที่รู้จักของผู้คนเลย
ค.ศ.1980 มีการก่อตั้ง "กลุ่มผลิตหัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ (ปัจจุบันคือ สมาคมเพาะปลูกหัวไชเท้ามัตสึดาเตะชิโบริ)" ตั้งแต่มีความพยายามในการผลิตและจัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษก็ทำให้เป็นที่รู้จักนอกพื้นที่มากขึ้น
- ไคยากิ : อาหารท้องถิ่นที่ใช้เปลือกหอย เช่น หอยเชลล์ แทนหม้อ แล้วนำอาหารทะเลกับผักลงไปต้ม