ส้มเฮ็ตสึกะไดได

หมายเลขจดทะเบียน 57
ชื่อของ GI ส้มเฮ็ตสึกะไดได
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2017/12/15
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดคาโกชิมะ
เมืองคิมตสึกิ และเมืองมินามิโอซูมิ กลุ่มพื้นที่คิมตสึกิ
ติดต่อที่อยู่

สหกรณ์การเกษตรคิมตสึกิคาโงชิมะ

1-1 ชิราซากิ เมืองคาโนยะ จังหวัดคาโงชิมะ

http://www.ja-kagoshimakimotsuki.or.jp/

พื้นที่ผลิต

"ส้มเฮ็ตสึกะไดได" คือ ผลไม้ตระกูลส้มที่เพาะปลูกในภูมิภาคมานานแล้ว แม้ในชื่อมีคำว่า "ไดได" แต่ผลไม้ชนิดนี้ต่างจากตระกูลส้มไดไดชนิดอื่นของญี่ปุ่น
 เมื่อเทียบกับส้มไดได ส้มเฮ็ตสึกะไดไดมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เรียบ และมีน้ำมาก เปลือกส้มชนิดนี้มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์คล้ายมะนาว ส่วนน้ำส้มมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมอ่อนโยน

"ส้มเฮ็ตสึกะไดได" เป็นส้มสายพันธุ์ประจำถิ่นที่ปลูกภายในพื้นที่ผลิตผ่าน "กระบวนการเพาะปลูกส้มเฮ็ตสึกะไดได" ตามที่จังหวัดคาโงชิมะแนะนำ
 การเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้นหลังจากเกษตรกรเวียนตรวจสอบและยืนยันช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการลงมือ
 ผลผลิตจะผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดเมื่อระบุได้ว่า "ไม่ใช่พันธุ์อื่น" "ไม่เน่าเสียหรือมีตำหนิ" "ปลอดโรคและแมลง" "ไม่ช้ำ" และจะพร้อมส่งเข้าสู่ตลาดได้

ที่มาของชื่อ "เฮ็ตสึกะไดได" คือ "ชุมชนเฮ็ตสึกะ" ซึ่งเดิมเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกล ล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเล
 ก่อนจะมีถนนตัดเข้าไป "ชุมชนเฮ็ตสึกะ" เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก การติดต่อกับพื้นที่รายรอบจึงอยู่ในขอบข่ายจำกัด คุณค่าการประโยชน์ของส้มเฮ็ตสึกะไดไดจึงเป็นที่รู้กันเฉพาะคนในท้องถิ่นเท่านั้น
 ในเมืองคิมตสึกิและมินามิโอสึมิ ส้มเฮ็ตสึกะไดไดได้รับการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษที่จำกัดอยู่แค่เพียงพื้นที่ในท้องถิ่น การจำหน่ายและการขนย้ายต้นกล้าไปยังพื้นที่อื่นถูกห้าม จึงไม่มีการปลูกส้มเฮ็ตสึกะกะไดไดที่อื่นนอกจากใน 2 เมืองนี้
 ในพื้นที่ผลิต ส้มเฮ็ตสึกะไดไดคือส่วนที่จะขาดไม่ได้ในวัฒนธรรมอาหารประจำวัน โดยใช้เป็น "สึมะ" หรือสิ่งประดับอาหาร (1) ร่วมกับอาหารประเภทปลา ใช้ทำน้ำส้มสายชู เป็นต้น
 ส้มเฮ็ตสึกะไดไดใช้ในผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อประจำถิ่นมานานแล้ว ทว่าตั้งแต่ปี 1992 องค์กรที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค (กลุ่มผู้ผลิตและหน่วยงานของรัฐ) เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านการคัดสรรและการเพาะปลูกสืบทอดสายผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และวางแผนขยายพื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนพัฒนาคุณภาพ
 ในปี 1997 คณะอนุกรรมการส้มเฮ็ตสึกะไดไดได้รับการจัดตั้งขึ้นและดำเนินงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนในพื้นที่ยังคงทำงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ดีขึ้น
 ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผลิตภัณฑ์ต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 50 ตัน บางส่วนเริ่มได้รับการส่งเข้าสู่ตลาดนอกพื้นที่ท้องถิ่นแล้ว ส้มชนิดนี้จึงค่อย ๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น

  1. สึมะ: สิ่งที่นำมาวางควบคู่กับอาหาร เช่น ปลาดิบ เพื่อเป็นการประดับตกแต่ง

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น