มิยาซากิวากิว, เนื้อวัวมิยาซากิ

หมายเลขจดทะเบียน 55
ชื่อของ GI มิยาซากิวากิว, เนื้อวัวมิยาซากิ
การแบ่งประเภท เนื้อ
วันที่ลงทะเบียน 2017/12/15
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดมิยาซากิ
ติดต่อที่อยู่

สมาคมนโยบายพัฒนาการผลิตเนื้อวัวมิยาซากิชั้นเลิศ

1-1-1 คิริชิมะ เมืองมิยาซากิ จังหวัดมิยาซากิ

http://www.miyazakigyu.jp/

พื้นที่ผลิต

"เนื้อวัวมิยาซากิ" คือ ชื่อได้ใช้กับเนื้อวัวจากวัวญี่ปุ่นขนดำ ที่ผลิตในจังหวัดมิยาซากิ โดยได้มีระดับตั้งแต่ 4 ขึ้นไปตามเกณฑ์การแบ่งคุณภาพเนื้อ (1)
 "เนื้อวัวมิยาซากิ" มีลักษณะเด่นคือ เป็นเนื้อชั้นเลิศและมีลายหินอ่อนละเอียดอยูในเนื้อ เมื่อเข้าสู่ปาก เนื้อจะให้รสหวานอ่อน ๆ และส่งกลิ่นหอมแผ่ซ่าน
 ในนิทรรศการประกวดคุณสมบัติวัววากิวระดับชาติ (2) ซึ่งจัดทุก 5 ปี "เนื้อวัวมิยาซากิ" ได้รางวัลชนะเลิศติดต่อกันในงาน 3 ครั้งที่ผ่านมา

ลูกวัวที่เลี้ยงเพื่อจะนำมาผลิตเนื้อวัวมิยาซากิต้องมาจากสายเลือดของวัวตัวผู้ที่พัฒนาขึ้นภายในจังหวัดมิยาซากิผ่านความพยายามอันมีเอกภาพทั่วจังหวัด และพื้นที่ผลิตต้องอยู่ภายในจังหวัดมิยาซากิเท่านั้น
 นอกจากนี้ เงื่อนไขของการตีตรา "เนื้อวัวมิยาซากิ" ต้องเป็นวัวที่ที่ผ่านช่วงการเลี้ยงยาวนานที่สุดในจังหวัดมิยาซากิและได้รับการประเมินระดับคุณภาพเนื้อญี่ปุ่นตั้งแต่ 4 ขึ้นไปเท่านั้น

จังหวัดมิยาซากิอยู่มหาสมุทรแปซิฟิกและมีแนวชายฝั่งทอดยาว 400 กิโลเมตรจากเหนือจดใต้ กระแสน้ำกคูโรชิโอะ (3) ซึ่งเป็นกระแสน้ำอุ่นในทะเล ไหลอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และแถบเทือกเขาคิวชู (4) ที่กันลมเหนือที่หนาวเย็นทำให้จังหวัดมิยาซากิมีสภาพอากาศอบอุ่นตลอดปี จากสภาพอากาศที่เอื้อเช่นนี้ จังหวัดมิยาซากิจึงเป็นแหล่งเลี้ยงมัวเนื้อมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศ
 คุณภาพของเนื้อจากลูกวัวที่เลี้ยงในจังหวัดมิยาซากิเป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั่วญี่ปุ่น ลูกวัวประมาณ 1 ใน 4 ที่เลี้ยงในจังหวัดนี้ได้รับการส่งไปยังจังหวัดอื่นทั่วญี่ปุ่น และใช้นำไปเลี้ยงต่อเพื่อผลิตเนื้อวัวขึ้นชื่อตามแต่ละพื้นที่
 จังหวัดมิยาซากิจึงเป็นพื้นที่ผลิตเนื้อวัวที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และสามารถพัฒนาพันธุ์วัววากิวขึ้นด้วยการวิธีการเฉพาะตน เพื่อผลิตวัววากิวที่ "อ้วนง่าย เลี้ยงง่าย ได้เนื้อคุณภาพดี" ในปี 1973 บรรษัทพัฒนาปศุสัตว์จังหวัดมิยาซากิได้รับการก่อตั้งขึ้น นำไปสู่การประมวลระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพสำหรับการพัฒนาและการจัดการวัวพ่อพันธุ์ในจังหวัด บรรดาผู้ผลิตทำงานร่วมกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่รัฐโดยดำเนินความพยายามเป็นหนึ่งเดียวทั่วจังหวัดเพื่อสร้างระบบพัฒนาวัวเนื้อ โดยเรียกว่า "ระบบมิยาซากิ" และยังคงใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
 นอกจากนี้ สหพันธ์เศรษฐกิจสหกรณ์การเกษตรมิยาซากิกับผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของสหกรณ์การเกษตรแต่ละแห่งได้ร่วมมือกันวิเคราะห์อาหารเลี้ยงวัวตามพื้นที่ต่าง ๆ จัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงการจัดการด้านอาหารปศุสัตว์ และอบรมความรู้ทางเทคนิคด้านการขุนวัวให้อ้วนแก่ผู้ผลิต
 "เนื้อวัวมิยาซากิ" ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงหลายทศวรรษผ่านความพยายามของผู้ผลิตเนื้อวัวและผู้ที่เกี่ยข้องในจังหวัดมิยาซากิจึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั้งในและนอกจังหวัด และขณะนี้ได้ก้าวไปถึงระดับที่สามารถครองแชมป์ติดต่อกัน 3 ครั้งในนิทรรศการประกวดคุณสมบัติวัววากิวระดับชาติ
 ในปี 1986 ทางการจังหวัดและสหพันธ์เศรษฐกิจสหกรณ์การเกษตรมิยาซากิร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมนโยบายพัฒนาการผลิตเนื้อวัวมิยาซากิชั้นเลิศ" ขึ้น และได้ทำให้ความปรารถนายาวนานเรื่องการสร้างแบรนด์ "เนื้อวัวมิยาซากิ" (มิยาซากิกิว) เป็นจริงขึ้นมา

  1. ระดับคุณภาพเนื้อญี่ปุ่น: ดัชนี้บ่งชี้คุณภาพเนื้อวัว มีตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ในการจัดระดับคุณภาพเนื้อโดยรวม จะพิจารณาองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ลายหินอ่อนในเนื้อ สีและความใส คุณภาพความแน่นและความละเอียดของเนื้อ สีและความใสของไขมันกับคุณภาพ
  2. นิทรรศการประกวดคุณสมบัติวัววากิวระดับชาติ: นิทรรศการประกวดวัวญี่ปุ่น (วัวญี่ปุ่นพันธุ์ขนดำ) จัดทุก 5 ปี
  3. กระแสน้ำคูโรชิโอะ: กระแสน้ำในทะเลที่ไหลจากทะเลจีนตะวันออก ผ่านหมู่เกาะโทการะ เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยไหลเลียบชายฝั่งทางใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น จากนั้นเบนไปทางตะวันออกจากคาบสมุทรโบโซ เป็นที่รู้จักในชื่อ "กระแสน้ำญี่ปุ่น" ด้วย โดยเป็นกระแสน้ำในทะเลกระแสใหญ่ที่สุดในโลกแหล่งหนึ่ง เช่นเดียวกับกระแสน้ำเย็นขั้วโลกแอนตาร์กติกา และกระแสน้ำกัลฟ์สตรีมในมหาสมุทรแอตแลนติก
  4. เทือกเขาคิวชู: พื้นที่เทือกเขาที่พาดผ่านกลางเกาะคิวชูโดยไล่ลงมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่ตะวันตกเฉียงใต้ จากตอนใต้ของจังหวัดโออิตะ ผ่านภูมิภาคคูมะของจังหวัดคูมาโมโตะ และทางเหนือของจังหวัดมิยาซากิ สู่ภูมิภาคซัตสึมะของจังหวัดคาโงชิมะ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น