หอยชิจิมิยามาโตะทะเลสาบโองาวาระ
หอยชิจิมิยามาโตะทะเลสาบโองาวาระ
หมายเลขจดทะเบียน | 52 |
---|---|
ชื่อของ GI | หอยชิจิมิยามาโตะทะเลสาบโองาวาระ |
การแบ่งประเภท | ปลาและสัตว์น้ำมีเปลือก |
วันที่ลงทะเบียน | 2017/12/15 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดอะโอโมริ
พื้นที่จังหวัดอาโอโมริ ในกลุ่มพื้นที่คามิกิตะ 2 แห่ง ได้แก่ เมืองโทโฮกุ (รวมทะเลสาบโองาวาระ) และหมู่บ้านรกกาโช และเมืองมิซาวะ |
ติดต่อที่อยู่ | สหกรณ์การประมงทะเลสาบโองาวาระ 4-31-662 อาซาฮิกิตะ เมืองโทโฮกุ กลุ่มพื้นที่คามิกิตะ จังหวัดอาโอโมริ |
พื้นที่ผลิต
"หอยชิจิมิยามาโตะทะเลสาบโองาวาระ" คือ หอยชิจิมิชนิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักในชื่อ "หอยชิจิมิยามาโตะ" (1) จับจากทะเลสาบโองาวาระ (2) เนื่องจากใช้เวลา 4 ปีเจริญเติบโตในน้ำของทะเลสาบแห่งนี้กว่าจะถึงเวลาถึงจับขึ้นมา หอยชนิดนี้จึงมีขนาดใหญ่และเปลือกยาว ซึ่งช่วยเพิ่มรสชาติเข้มข้นกลมกล่อมแก่น้ำซุปพื้นฐานสำหรับการทำอาหาร และเนื้อหอยมีรสชาติอร่อย
ชาวประมงที่ทะเลสาบโองาวาระใช้เครื่องมือจับปลาที่เรียกว่า "โจเร็ง" (คล้ายสวิงด้ามยาว) เพื่อช้อนหอยขึ้นมา ส่วนกำลังแรงงานที่ใช้นั้น มีเพียงแรงคนกับกำลังของเครื่องกว้านบนเรือเท่านั้น วิธีการเช่นนี้ยังคงได้รับการรักษาไว้ ส่วนเกณฑ์คัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเข้าสู่ตลาด คือ เปลือกหอยต้องมีความยาว 15 มิลลิเมตรขึ้นไป ส่วนหอยชิจิมิที่ไม่ได้ขนาดตามนั้นจะถูกปล่อยกลับลงไปในทะเลสาบโองาวะหลังจากจับขึ้นมาแล้ว
เมื่อคัดแยกหอยชิจิมิที่ตายออกไปอย่างระมัดระวังด้วยสายตาและการฟังแล้ว ส่วนที่ผ่านการคัดสรรทั้งหมดจะได้รับการนำส่งไปยัง "ตลาดค้าส่งปลาภูมิภาคทะเลสาบโองาวาระ" ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะทางสำหรับหอยชิจิมิ
ทะเลสาบโองาวาระเอื้อต่อการอยู่อาศัยของหอยชิจิมิยามาโตะซึ่งเติบโตได้ดีในน้ำกร่อย โดยมีปัจจัยเกื้อหนุน เช่น ความเข้มข้นของโซเดียมและออกซิเจนในทะเลสาบ และพื้นชั้นล่างที่มีลักษณะปนทร/ายซึ่งเหมาะกับหอยชิจิมิยามาโตะ ทะเลสาบแห่งนี้จึงเป็นแหล่งประมงหอยชิจิมิชั้นนำในญี่ปุ่น
ชาวประมงในท้องถิ่นได้สร้างแนวทางปฏิบัติสำหรับการเพาะพันธุ์และเก็บเกี่ยวหอยชิจิมิอย่างยั่งยืนภายในทะเลสาบมาตั้งแต่ปี 1983 โดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น ขีดจำกัดของจำนวนที่จะจับได้ ฯลฯ
ในปี 1993 "ตลาดค้าส่งปลาภูมิภาคทะเลสาบโองาวาระ" เริ่มเปิดทำการ ทำให้การส่งหอยชิจิมิจากทะเลสาบเข้าสู่ตลาดสามารถทำได้เสร็จสิ้นในจุดเดียว และได้ก่อให้เกิดระบบการส่งหอยชิจิมิที่มีคุณภาพสม่ำเสมอขึ้นมา
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณรวมของการจับคือ 1,217 ตัน (ปีงบประมาณ 2013) 1,169 ตัน (ปีงบประมาณ 2014) และ 1,283 ตัน (ปีงบประมาณ 2015)
- หอยชิจิมิยามาโตะ: หอยกาบคู่ที่รับประทานได้ จับได้ในพื้นที่น้ำกร่อย เป็นหอยเฉพาะถิ่นญี่ปุ่น
- ทะเลสาบโองาวาระ: ทะเลสาบโองาวาระเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอาโอโมริ และใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ในญี่ปุ่น แม่น้ำทากาเซะเชื่อมต่อทะเลสาบแห่งนี้กับมหาสมุทรแปซิฟิก มีน้ำทะเลแทรกเข้ามาสู่ทะเลสาบเพราะกระแสน้ำขึ้นลง ทำให้เป็นพื้นที่น้ำกร่อย นอกจากนี้ ทะเลสาบโองาวาระยังเป็นทะเลสาบน้ำกร่อยที่ใหญ่อันดับ 5 ในญี่ปุ่น และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทโฮกุด้วย