ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ

ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ
※提供元:八女伝統本玉露推進協議会

หมายเลขจดทะเบียน 5
ชื่อของ GI ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2015/12/22
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดฟุคุโอกะ
ติดต่อที่อยู่

สมาคมส่งเสริมยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ

420-1 โมะโตะมูระ, ยาเมะชิ จังหวัดฟุคุโอกะ

พื้นที่ผลิต

"ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ" เป็นชาญี่ปุ่นซึ่งอุดมไปด้วยกลิ่นที่หอมกรุ่น เป็นชาที่ได้จากการเด็ดใบชาสดด้วยมือและนำมาแปรรูปโดยผ่านกรรมวิธีดั้งเดิม เป็นชาที่ผลิตอยู่ในพื้นที่ระหว่างที่ราบกับหุบเขาของยาเมะชิและเมืองรอบๆ

ในบรรดาชาญี่ปุ่นนั้น "เกี่ยวคุโระ" เป็นชาที่มีลักษณะเด่นคือมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นสาหร่ายทะเลสีเขียวเป็นลักษณะพิเศษที่เรียกว่า "โออิคะ" ซึ่งเป็นผลมาจากการปกคลุมครอบใบชาที่เป็นวัตถุดิบในช่วงระหว่างการเจริญเติบโต โดยทั่วไปแล้วจะทำการปกคลุมโดยใช้วัสดุที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์แต่สำหรับใบชาสดที่เป็นวัตถุดิบของ "ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ" นั้นจะใช้วัสดุธรรมชาติประเภทฟางข้าวเป็นต้น เมื่อเทียบกับวัสดุเส้นใยสังเคราะห์แล้ว อุณหภูมิและความชื้นภายใต้ฟางที่ปกคลุมจะเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของยอดชากว่า สำหรับเกี่ยวคุโระโดยทั่วไปแล้ว เพื่อทำการเก็บเกี่ยวใบชา พื้นที่ในการเก็บเกี่ยวใบชาจะให้เป็นลักษณะครึ่งวงกลม แต่สำหรับ "ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ" เนื่องจากทำการปลูกและดูแลโดยให้เป็นไปตามลักษณะทางธรรมชาติของต้นชา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สารอาหารส่งไปยังยอดชาแต่ละยอดได้อย่างเพียงพอ

กลิ่นหอมที่ว่านั้นอุดมไปด้วยความหอมกรุ่นของชาบ่งบอกถึงปริมาณสารประกอบแห่งความหอม "โออิคะ" ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่ามีอยู่ปริมาณมาก ซึ่งมีมากกว่า 5 เท่าของเซ็นชา (ชาเขียวญี่ปุ่นทั่วไปที่ไม่ใช้กรรมวิธีปกคลุมครอบใบชา) และมีปริมาณมากประมาณ 2 เท่าของเกี่ยวคุโระที่ผลิตอยู่ในแหล่งผลิตเดียวกันอีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารแอล-ธีอะนีน (L-Theanine) ที่เป็นสารที่สร้างรสชาติความอร่อยของชาเขียว และจากการที่มีการควบคุมปริมาณสารประเภทแคทิชิน (catechin) ที่เป็นสารที่ให้รสชาติฝาด จึงทำให้ได้มาซึ่งรสชาติชาสกัดที่เข้มข้นทั้ง "มาโรยะคะ"และ "โคะคุ" (รสชาตินุ่มนวล และ กลมกล่อม)

สวนชาที่ผลิตใบชาสดของ "ยาเมะเดนโตฮอนเกี่ยวคุโระ" ที่มีอยู่ตามจุดต่างๆ ของพื้นที่ระหว่างที่ราบกับหุบเขานั้น มีอุณหภูมิอากาศของตอนเช้าและตอนเย็นแตกต่างกันมาก จะปรากฎน้ำค้างในตอนเช้าขึ้นบ่อยๆ จากการสังเกตเชิงประสบการณ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะการผลิตชาสด และความแตกต่างของอุณหภูมิยิ่งมีมากเท่าไร การหายใจของพืชในช่วงกลางคืนก็จะถูกจำกัด ซึ่งทำให้กรดอะมิโนซึ่งเป็นสารให้ความอร่อยนั้นถูกเก็บสะสมไว้ได้มาก ในการศึกษาค้นคว้าเทคนิคการแปรรูปอะระชา (ชาที่ผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆ มาถึงขั้นตอนการอบแห้งชา) ก็เช่นกัน มีการกระทำมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด โดยเฉพาะ "การนวดด้วยมือ" ซี่งเป็นพื้นฐานของเทคนิคการแปรรูปอะระชานั้นมีการจัดการแข่งขันและอบรมอยู่ทุกปี จัดทำการสืบทอดและสั่งสมเทคนิคฝีมือโดยมีคนหนุ่มสาวผู้สืบทอดเป็นแกนนำหลัก

เมื่อตามรอยประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่าในปีค.ศ. 1423 มีพระภิกษุผู้ซึ่งได้บุกเบิกภูเขาและสร้างวัดพุทธเรกันจิแห่งคะสะฮาระคุโรกิมาจิ เมืองยาเมะชิ ได้ทำการหว่านเมล็ดชาที่ถือกลับมาจากเมืองมิน (เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สืบทอดกันมาของจีน) และได้บอกเล่าถึงกรรมวิธีการทำชานั้นเป็นจุดเริ่มต้นของยาเมะชา หลังจากนั้น ประมาณช่วงปีค.ศ. 1820-1840 การผลิตยาเมะชาก็ได้แพร่หลายไปยังพื้นที่ทั้งหมดทั้งทั่วบริเวณภูเขา เมล็ดพันธุ์ชาที่เป็นที่ตำนานของยาเมะชานั้น มี "เซ็นชา" เป็นหลักสำคัญ แต่เมื่อพิสูจน์พบว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้นเหมาะสำหรับการผลิตเกี่ยวคุโระ ตั้งแต่ประมาณปีค.ศ. 1904 ก็มีการผลิตเกี่ยวคุโระขึ้นอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากหมู่บ้านโฮชิโนะมูระ ยาเมะชิ จากนั้นแผ่ขยายออกไปยังพื้นที่บริเวณพื้นที่ระหว่างที่ราบกับหุบเขาโดยรอบ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น