เผือกคามิโช (คามิโชซาโตอิโมะ)

หมายเลขจดทะเบียน 43
ชื่อของ GI เผือกคามิโช (คามิโชซาโตอิโมะ)
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2017/11/10
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดฟุคุอิ
เขตคามิโช เมืองโอโนะ(ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2017 ชื่อทางการบริหารปกครองอย่างเป็นทางการคือ หมู่บ้านคามิโช เมืองโอโนะ จังหวัดฟูกูอิ)
ติดต่อที่อยู่

Fukuiken Agricultural Cooperative

3-2-18, Oote, Fukui City, Fukui Prefecture

https://www.ja-fukuiken.or.jp/

พื้นที่ผลิต

"คามิโชซาโตอิโมะ" หรือ "เผือกคามิโช" เป็นเผือกสายพันธุ์ท้องถิ่นที่สืบทอดขยายพันธุ์ที่เมืองโอโนะ โดยมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โอโนะไซไร" อันหมายถึง "ประจำถิ่นโอโนะ" ลักษณะเด่นคือมีเนื้อแน่นมากและแข็ง ไม่เละง่าย ๆ เมื่อนำไปต้ม และให้รสสัมผัสทางอาหารหนืดนุ่มอย่างมีเอกลักษณ์
 การคัดสรรหัวเผือกโดยทั่วไปนั้น เกษตรกรแต่ละคนจะเป็นผู้ดำเนินการ แต่การคัดสรรหัวเผือกคามิโชชั้นดีกระทำผ่านกระบวนการอันถี่ถ้วน เพื่อคงไว้ซึ่งสายการขยายพันธุ์ของ "คามิโชซาโตอิโมะ" (โอโนะไซไร)
 "เผือกคามิโช" มีลักษณะพิเศษเช่นนี้และขึ้นชื่อในตลาด จึงจำหน่ายในราคาสูงในช่วงส่งเข้าสู่ตลาดตามฤดูกาลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม

"เผือกคามิโช" เป็นเผือกสายพันธุ์ถิ่นโอโนะ ปลูกในพื้นที่ผลิตที่จำเพาะเจาะจง สมาคมผู้ผลิตยึดมั่นในมาตรฐานสูง และจะไม่ส่งเผือกเข้าสู่ตลาดหากไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดในด้านการสูญเสียน้ำ การมีรอยตำหนิ การเน่าเสีย โรคภัย เป็นต้น เผือกที่ไม่ถึงเกณฑ์แต่ไม่มีตำหนิและรอยช้ำเพราะโรค และไม่เน่าเสีย จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปต่อไป

พื้นที่เพาะปลูกเผือมคามิโชอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดฟูกูอิ ในโอบล้อมของภูเขาฮากุ (1) และภูเขาอาราชิมะ และภูเขาอื่น ๆ ที่มีความสูงกว่า 1,000 เมตร พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นเนินตะกอนรูปพัดที่เกิดจากตะกอนน้ำและก่อตัวเป็นฐานของภูเขา ดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดีเหมาะแก่การปลูกเผือก
 นอกจากนี้ ในฤดูเพาะปลูกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน อุณหภูมิจะต่างกันมากระหว่างกลางวันกับกลางคืน สืบเนื่องจากภูมิอากาศเฉพาะพื้นที่ในสภาพที่เป็นแอ่งอันเป็นที่ตั้งของคามิโช ลักษณะอากาศเช่นนี้สร้างสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนย้ายแป้งที่เผือกคามิโชผลิตได้ในช่วงกลางวัน นี่คือปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นเผือกคุณภาพสูงที่มีปริมาณแป้งมากและไม่เละง่าย ๆ เมื่อนำไปต้ม ภูมิภาคนี้มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย เช่น มีน้ำมากจากแม่น้ำคูซูริว (2) และแม่น้ำมานะ ซึ่งทำให้การชลประทานดำเนินการได้สะดวกในฤดูร้อน
 ประวัติต้นกำเนิดการเรียกเผือกว่า "โอโนะไซไร" นั้นไม่แน่ชัด และสายการสืบทอดก็หลากหลายมาแต่เดิมเนื่องจากโดยทั่วไปเกษตรกรในท้องถิ่นต่างคนต่างสืบทอดสายการเพาะปลูกกันเอง อย่างไรก็ตาม ศูนย์โอคูเอ็ตสึเพื่อพัฒนาการด้านเกษตรกรรมได้จัดให้มีการคัดเลือกสายเพาะพันธุ์เผือก "โอโนะไซไร" ในภูมิภาคคามิโชในช่วง 3 ปีตั้งแต่ปี 1972 ยังผลให้เกิดการคัดเลือก "เผือกคามิโช (โอโนะไซไร)" สายที่ให้ผลผลิตสูง
 การคัดเลือกเผือกสายคุณภาพสูงดำเนินต่อมาตั้งแต่ตอนนั้น ปัจจุบันสายที่มีลักษณะเด่นจึงสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 30 ปี การรักษาสายของ "เผือกคามิโช (โอโนะไซไร)" ด้วยลักษณะเช่นนี้เป็นการบริหารจัดการโดยเกษตรกรในท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศในท้องถิ่นคือปัจจัยที่ช่วยยกระดับคุณลักษณะเด่นของ "เผือกคามิโช" ให้สูงขึ้น

  1. ภูเขาฮากุ: สูง 2,702 เมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเขาฮากุจังหวัดอิชิกาวะในภูมิภาคโฮกูริกุ และได้รับการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน "ร้อยภูเขาดังของญี่ปุ่น" ถือว่าป็นหนึ่งใน "สามภูเขาศักดิ์สิทธิ์" ของญี่ปุ่นด้วย
  2. แม่น้ำคูซูริว: แม่น้ำที่ไหลผ่านภูมิภาคเรโฮกุของจังหวัดฟูกูอิ ชื่อแม่น้ำสายนี้ หมายถึง "มังกรเก้าหัว" มีตำนานและเทพนิยายหลายเรื่องที่เล่าขานเกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้มาตั้งแต่โบราณ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น