มิโตโกโบ

มิโตโกโบ

หมายเลขจดทะเบียน 40
ชื่อของ GI มิโตโกโบ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2017/09/15
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดยามะงุจิ
เขตมิโต เมืองมิเนะ
ติดต่อที่อยู่

JA Yamaguchi
2139, Ogoorishimogo, Yamaguchi City, Yamaguchi Prefecture
https://www.ja-ymg.or.jp/

พื้นที่ผลิต

"มิโตโกโบ" หมายถึง ต้นโกโบที่ปลูกในดินที่มีลักษณะคล้ายดินเหนียวสีแดงของเมืองมิโตในจังหวัดยามางูจิ (1) (2) ต้นโกโบเหล่านี้มีรากยาวเป็นลักษณะเด่น โดยมีเนื้อแน่นต่อเนื่องไปถึงยอด รากโกโบให้รสชาติสัมผัสอาหารในลักษณะอ่อนนุ่มและมีกลิ่นหอมจัด ด้วยคุณภาพสูงเช่นนี้จึงได้รับการประเมินอย่างดีจากบรรดาผู้ค้าและซื้อขายกันในราคาสูง

เกษตรกรผู้ผลิตจะปล่อยให้รากของต้นโกโบงอกยาวลงไป โดยใช้เครื่องจักรพรวนดินปลูกที่มีลักษณะคล้ายดินเหนียวสีแดงให้ลึกลงไปอย่างระมัดระวังประมาณ 1 เมตร และจะนำต้นโกโบมาปลูกหลังจากทำชั้นดินให้มีความยืดหยุ่นแล้ว
 หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการสูญเสียกลิ่นหอมตามธรรมชาติของโกโบ จะใช้วิธีการตามขนบดั้งเดิมซึ่งเรียกว่า "ซูนาเดรุ" (3) อันหมายถึงการขัดถูเอาดินที่ติดอยู่กับรากนั้นออกไปอย่างเบามือ

พื้นที่ที่มีการเพาะปลูก "มิโตโกโบ" ได้แก่ แอ่งที่เกิดขึ้นจากการกัดเซาะหินตามธรรมชาติ ดินบริเวณนั้นหนัก และมีลักษณะคล้ายดินเหนียว สีน้ำตาลแดง ผลจากการเพาะปลูกในภูมิประเทศลักษณะพิเศษและดินเช่นนี้ คือ ต้นโกโบจะเติบโตอย่างช้า ๆ โดยขึ้นอยู่กับความดันจากดิน และผู้ผลิตจะสร้างกระบวนการทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้นและการพรวนลึก เป็นต้น จากความใส่ใจเหล่านี้ "มิโตโกโบ" จึงมีลักษณะเด่น คือ คุณภาพเนื้อที่ละเอียดและให้รสชาติสัมผัสทางอาหารอ่อนนุ่ม และกล่าวกันว่าในสมัยเอโดะ มีค่าสูงถึงกับนำไปจ่ายเป็นภาษีประเภทหนึ่งด้วย (4)
 ภายหลังการก่อตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตมิโตโกโบเมื่อปี 1986 กระบวนการผลิตอย่างเป็นเอกภาพและการกำหนดมาตรฐานเพื่อการจำหน่ายมิโตโกโบก็ได้รับการประมวลขึ้น การผลิตตามหลักการนี้ดำเนินมานานกว่า 30 ปีจนถึงปัจจุบัน

  1. โกโบ: พืชที่นำเข้ามาสู่ญี่ปุ่นจากจีนในฐานะสมุนไพรการแพทย์ก่อนศตวรรษที่ 10 แต่กล่าวกันว่าชาวญี่ปุ่นนำมารับประทานเป็นผักตั้งแต่ช่วงกลางสมัยเฮอัน (794-1185) เป็นต้นมา โกโบมีเส้นใยอาหารมาก มีแร่ธาตุมากและมีพอลิฟีนอล เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติบรรเทาอาการท้องผูก และป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
  2. โกโบ: จากการที่โกโบมีรากงอกยาวลึกลงไปในดินอย่างมั่นคง นำไปสู่ความเชื่อที่ว่าเมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ครอบครัวมั่นคง ในอาหารปีใหม่ซึ่งเป็นโอกาสพิเศษจึงมีโกโบรวมอยู่ด้วยเสมอเพราะถือว่าเป็นของมงคล
  3. ซูนาเดรุ: หมายถึง กระบวนการขัดถูกดินออกจากรากของต้นโกโบโดยไม่ล้างน้ำ เป็นการขจัดดินออกโดยไม่ทำให้ผิวของของรากช้ำ โดยนำฟางหรือผ้านุ่มมาขัดถูออกอย่างเบามือทีละราก
  4. สมัยเอโดะ: ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคหนึ่งตั้งแต่ปี 1603 ถึง 1867 เป็นช่วงที่รัฐบาลโชกุนได้รับการสถาปนาขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือกรุงโตเกียว) การเมืองการปกครองระบอบแคว้นรวมศูนย์อยู่ที่เอโดะ นำโดยตระกูลโทกูงาวะ เริ่มตั้งแต่ช่วงที่อิเอยาซุ โทกูงาวะเป็นโชกุนรุ่นแรกจากตระกูลนี้

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น