อีนูมะคุริ

อีนูมะคุริ
※提供元:茨城町 生活経済部

หมายเลขจดทะเบียน 38
ชื่อของ GI อีนูมะคุริ
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2017/06/23
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอิบารากิ
อิบารากิมาจิ, ฮิกาชิอิบารากิกุน
ติดต่อที่อยู่

สมาคมผลิตและจำหน่ายชิโมะอีนูมะคุริ

1077 ชิโมะอีนูมะ, อิบารากิมาจิ, ฮิกาชิอิบารากิกุน, จังหวัดอิบารากิ

https://www.iinumakuri.com/

พื้นที่ผลิต

"อีนูมะคุริ" มีความแตกต่างจากเกาลัดโดยทั่วไป ใช้เทคโนโลยีในการปลูกโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1 เมล็ดใน 1 ผล ในการล้างเมล็ดที่เก็บได้ทั้งหมด แล้วนำมาคัดเลือกเมล็ดเกาลัดนั้นจะทำให้ได้มาซึ่งเกาลัดที่มีเมล็ดใหญ่และมีลักษณะภายนอกของสีและความเป็นมันวาวที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้จากผลของการจัดเก็บรักษาในที่เก็บที่มีอุณหภูมิเย็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นทำให้คุณภาพของเกาลัดไม่เสื่อมถอย แต่เพิ่มปริมาณน้ำตาลที่มีความหวานเข้มข้นและนี่ก็คือผลเกาลัดที่ทำการผลิตอยู่ในทุกวันนี้

เกาลัดโดยทั่วไปจะมี 3 เมล็ดใน 1 ผล แต่ผู้ทำการผลิต "อีนูมะคุริ" นั้นมุ่งเน้นที่ทำการผลิตเกาลัดเมล็ดใหญ่โดยเฉพาะมีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1 เมล็ดใน 1 ผล และผลที่ได้จากการทำการวิจัยการผสมเกสรดอกไม้ในหลายต่อหลายครั้งนั้น ทำให้ได้มาซึ่งการผลิตเกาลัดเมล็ดใหญ่ (1-2 เมล็ดใน 1 ผล) ที่มีความมั่นคงมีปริมาณการเก็บเกี่ยวที่ไม่ตกนั้นกลายมาเป็นจริงได้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เมล็ดเกาลัดที่ได้จากการเก็บเกี่ยวนั้น เกาลัดทั้งหมดจะถูกนำมาล้างน้ำด้วยเครื่องล้างโดยเฉพาะ บริเวณส่วนที่อยู่ติดขั้วผลนั้นไม่มีสิ่งสกปรกติดและมีความเป็นมันวาว ยิ่งไปกว่านั้นจากการที่นำเมล็ดเกาลัดมาคลุกเคล้ากับขี้เลื่อยไม้แล้วนำทุกเมล็ดนั้นมาเก็บรักษาในที่ที่มีอุณหภูมิเย็น โดยทำการป้องกันความแห้งและเน่าเสียพร้อมทั้งป้องกันไม่ให้คุณภาพเสื่อมถอยลง เหล่านี้จะส่งผลให้เกาลัดอยู่ในสภาพที่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในตัวและเพิ่มความหวานมากขึ้นจากนั้นจึงนำออกสู่ตลาด

ในการนำส่งออกสู่ตลาดนั้น ผู้ทำการผลิตจะทำการคัดเลือก 2 ครั้งคือก่อนและหลังการนำเข้าเก็บรักษา และยังทำการคัดเลือกเมล็ดร่วมกันในสถานที่ที่เป็นจุดรวมของผลิตภัณฑ์อีกด้วย รวมทั้งสิ้นถึง 3 ครั้งในการคัดเลือกเมล็ดอย่างเข้มงวด ด้วยเหตุนี้จึงแทบจะไม่มีของเสียปะปนเลย การส่งออกของ "อีนูมะคุริ" นั้น มีปริมาณประมาณ 50t ในทุกๆ ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทำการผลิตอื่นๆ แล้วไม่ถือว่าเป็นปริมาณการส่งออกที่มาก แต่ได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างดีจากแหล่งที่ทำการจำหน่ายด้วยความที่มีคุณภาพสูงและมีความสม่ำเสมอ ราคาจำหน่ายในตลาดนั้นมีราคาสูงถึงประมาณ 2 เท่าของเกาลัดในพื้นที่ทำการผลิตอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์เกรดสูงอย่างแท้จริง

อิบารากิมาจิที่ทำการผลิต "อีนูมะคุริ" นี้ เป็นที่ราบสูงที่มีลักษณะแบนราบ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30m ดินโดยทั่วบริเวณนั้นมีสภาพที่มีการรักษาน้ำ, การระบายอากาศ, การระบายน้ำที่ดีและเป็นดินจากเถ้าถ่านของภูเขาไฟซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ อีกทั้งมีสภาพทางภูมิอากาศที่มั่นคง มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี 13.6℃ มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,354 mm ซึ่งถือเป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะในการปลูกเกาลัด

ในบันทึก "ฮิตาจิโนะคุนิฟุโดะคิ" ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในปีวาโดที่ 6 (ค.ศ. 713) นั้นได้มีการจดบันทึกในเรื่องของพื้นที่นาเมคะตะซึ่งอยู่ติดกับอิบารากิมาจิในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ได้เข้าใจว่าในท้องถิ่นนี้ได้ทำการปลูกเกาลัดที่ดีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ที่อิบารากิมาจินั้น ประมาณปีค.ศ. 1933 ได้มีการปลูกเกาลัดที่พื้นที่ทำการพัฒนาที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ประมาณปีค.ศ. 1963 การสร้างสวนปลูกเกาลัดก็ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างแพร่หลาย และจากคุณภาพที่สูงขึ้นของเกาลัดและการส่งออกอย่างมีแบบแผนที่ดีนั้น เพื่อมุ่งการปรับปรุงทางด้านผลกำไร จึงมีการก่อตั้งสมาคมขึ้นในปีค.ศ. 1968 โดยมีเกษตรกรที่เป็นผู้นำนั้นเป็นแกนหลักและเริ่มทำการส่งออกสู่ตลาด

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น