มันกันจิอะมะโท
มันกันจิอะมะโท
※提供元:舞鶴市 産業振興部
หมายเลขจดทะเบียน | 37 |
---|---|
ชื่อของ GI | มันกันจิอะมะโท |
การแบ่งประเภท | ผัก ธัญพืช พัลส์ |
วันที่ลงทะเบียน | 2017/06/23 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดเกียวโต
อะยะเบะชิ,มาอิซึรุชิและฟุคุจิยามะชิ |
ติดต่อที่อยู่ | สมาพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ 1-3-1 โอเทมาจิ, จิโยดะคุ, โตเกียว |
"มันกันจิอะมะโท" เป็นพริกที่มีรสเผ็ดน้อย ใช้รับประทานทั้งเนื้อพริก ทำการเพาะปลูกอยู่ที่อะยะเบะชิ, มาอิซึรุชิและฟุคุจิยามะชิในเกียวโต ชื่อที่เรียกกันว่า "มันกันจิอะมะโท" นั้นเป็นชื่อที่ได้ตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1998ในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ "มันกันจิโทกะระชิ" ที่มีถิ่นกำเนิดที่มาอิซึรุชิ จังหวัดเกียวโต
เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นเช่น "ฟุชิมิโทกะระชิ" ที่ทำการเพาะปลูกอยู่ในเกียวโตแล้วจะเห็นว่ามีขนาดใหญ่ มีความยาวตั้งแต่ 10 cm ถึง 23 cm มีเปลือกหนาคล้ายพริกหยวก รสที่ได้สัมผัสเมื่อรับประทานคือมีรสที่เป็นเอกลักษณ์เปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายธรรมชาติและรสหวานรวมเข้าไว้ด้วยกัน มีผลอ่อนนุ่มทั้งๆ ที่เป็นผลขนาดใหญ่ ข้างในมีเมล็ดอยู่น้อยรับประทานง่ายซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่น
พันธุ์ของ "มันกันจิอะมะโท" นั้นจำกัดอยู่ใน "มันกันจิโทกะระชิ" และ"เกียวโตมันกันจิ หมายเลข 2" ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้ปรับปรุงจาก "มันกันจิโทกะระชิ" สำหรับ "มันกันจิโทกะระชิ" นั้นเป็นพริกขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่มีความเผ็ดน้อย ยิ่งไปกว่านั้น "เกียวโตมันกันจิ หมายเลข 2" นั้นยังได้มีการปรับปรุงขึ้น มีความเผ็ดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับพริกขนาดใหญ่ของที่อื่นแล้ว จะเป็นได้ว่าเมื่อดูจากภายนอกส่วนเว้าช่วงไหลของพริกและลักษณะผลที่มีความโค้งงอเล็กน้อยนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ได้รับการประเมินที่สูงจากผู้เกี่ยวข้องในด้านการตลาด ทั้งรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและเนื้อที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวกรุบกรอบมีคุณภาพที่พร้อมสรรพ
มาอิซึรุชิ จังหวัดเกียวโตนั้นเป็นเขตปลูกต้นไม้บริเวณรอบนอกเมืองที่พยายามนำเมล็ดพันธุ์ผักที่ยอดเยี่ยมเข้ามารวบรวมอยู่ในเกียวโต ตั้งแต่ก่อนสมัยเอโดะ (ปีค.ศ. 1600) เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ ในฐานะที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้ากับประเทศฝั่งตรงข้าม ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งสร้างให้มาอิซึรุชมีประวัติความเป็นมาดังกล่าว คาดกันว่า "มันกันจิโทกะระชิ" ได้กำเนิดขึ้นมาจากการผสมพันธุ์ทางธรรมชาติของ "ฟุชิมิโทกะระชิ" ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้านของเกียวโตกับพันธุ์จากต่างประเทศ มีการกล่าวสืบต่อกันมาว่าได้เริ่มทำการเพาะปลูกในช่วงปลายสมัยไทโช (ปีค.ศ. 1920 ขึ้นไป)
เขตมันกันจิของมาอิซึรุชิที่มีที่มาของชื่อ "มันกันจิโทกะระชิ" นั้นเดิมทีเป็นดินที่มีลักษณะดินปนทรายในแม่น้ำที่เหือดแห้ง ซึ่งตรงกับเงื่อนไขที่เหมาะสำหรับพริกที่ไม่ทนต่อสภาพความแห้งที่มากเกินไปความเป็นน้ำที่มีมากเกินไป ทั่วบริเวณพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังตั้งแต่ในสมัยอดีตเมื่อมีฝนตกน้ำจากต้นน้ำก็จะพัดพาดินโคลนมาทับถม ซึ่งได้สร้างดินที่เหมาะในการเกษตรมาโดยตลอด ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเช่นนี้จึงทำให้สามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง เป็นที่รับรู้กันดีในฐานะที่เป็นพันธุ์พื้นบ้านที่อยู่ในครอบครองของเขตมันกันจิมาจนกระทั่งทุกวันนี้