โออิตะคะโบะสุ

โออิตะคะโบะสุ
※提供元:大分県カボス振興協議会

หมายเลขจดทะเบียน 33
ชื่อของ GI โออิตะคะโบะสุ
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2017/05/26
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดโออิตะ
ติดต่อที่อยู่

สมาคมส่งเสริมคะโบะสุจังหวัดโออิตะ

ในแผนกส่งเสริมแบรนด์โออิตะ ฝ่ายงานการเกษตร ป่าไม้และประมงจังหวัดโออิตะ

3-1-1 โอเทะมาจิ, โออิตะชิ, จังหวัดโออิตะ

http://www.oitakabosu.com/

พื้นที่ผลิต

"โออิตะคะโบะสุ" เป็นผลคะโบะสุ (ส้มชนิดหนึ่ง) ที่ทำการปลูกอยู่ในจังหวัดโออิตะ ทำการเก็บเกี่ยวในช่วงที่ผลมีสีเขียวซึ่งมีกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยมที่สุด ส่งออกเป็นจำพวกผักและผลไม้ มีลักษณะพิเศษคือมีกลิ่นหอมสดชื่นและรสเปรี้ยวที่ไม่จัดเกินไป จากการนำไปใช้ในอาหารโดยคั้นน้ำรสชาติอันยอดเยี่ยมของคะโบะสุนั้นจะช่วยดึงรสชาติความอร่อยที่มีอยู่ในตัววัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารนั้นๆ ออกมา

โดยปกติ คะโบะสุที่ทำการปลูกในที่โล่งแจ้งนั้นตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงที่ทำการเก็บเกี่ยวในขณะที่มีผลสีเขียว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงราวๆ เดือนพฤศจิกายนนั้นผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง "โออิตะคะโบะสุ" นั้นจะทำการเก็บรักษาผลที่เก็บเกี่ยวได้ก่อนหน้านั้นไว้ในโกดังและจะนำส่งออกจนถึงราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ยิ่งไปกว่านี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจะเริ่มทำการส่งออกคะโบะสุที่ปลูกอยู่ในโรงเรือนที่มีการเพิ่มอุณหภูมิ ซึ่งเรียกกันว่า "กรีนคะโบะสุ" ซึ่งเป็นการวางฐานระบบการป้อนสินค้าสู่ตลาดตลอดปีที่มั่นคง

เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการนำเสนอคะโบะสุที่มีคุณภาพดีมีปริมาณน้ำคั้นที่มากนั้นไปสู่ผู้บริโภค จะเก็บเกี่ยวในช่วงที่คะโบะสุมีสัดส่วนของน้ำคั้นส่วนใหญ่มากกว่า 20 % ในการกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวนี้ จะมีการเก็บตัวอย่างผลจากพื้นที่ทำการผลิตต่างๆ ในจังหวัดโออิตะ และทำการวัดปริมาณน้ำคั้น และทำการวัดสัดส่วนของน้ำคั้นจากข้อมูลที่เก็บได้

กรณีที่ทำการเก็บรักษาไว้ในโกดังโดยไม่ส่งออกทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยวนั้น เป็นการเก็บรักษาที่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้เพื่อรักษาคุณภาพของสีเขียวและสัดส่วนน้ำคั้นของผลโดยเป็นไปตามเกณฑ์จากคู่มือการปลูก

เมื่ออ้างอิงถึงคำบอกเล่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในเขตโอะโทะมิของอุสุคิชิแล้ว ได้กล่าวกันว่าประวัติของคะโบะสุนั้นได้เริ่มจากการที่หมอชื่อโซเกนในสมัยเอโดะได้นำต้นกล้า (บางคำบอกเล่าบอกว่าเมล็ดพันธุ์) จากเกียวโต ถือกลับไปแล้วนำไปปลูก ผลนั้นใช้เป็นยาแผนโบราณที่มีความสำคัญมาก

พื้นที่ทำการเพาะปลูกสำหรับเป็นผักและผลไม้ซึ่งได้ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นผลมาจากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จังหวัดโออิตะได้ทำการสนับสนุนส่งเสริมการปลูก และในปีค.ศ. 1972 มีการจัดตั้ง "สมาคมส่งเสริมคะโบะสุจังหวัดโออิตะ" จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เริ่มมีการร่วมประสานงานกันทำการขยายตลาดให้กว้างขึ้น

ในปีค.ศ. 1979 มีการจัด "กิจกรรมหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์" ขึ้นที่จังหวัดโออิตะ คะโบะสุที่ทำการปลูกอยู่ภายในจังหวัดโออิตะแต่ดั้งเดิมนั้น ในการที่เป็นตัวแทนนำหน้าก็ได้กลายมาเป็นจุดเด่นของงานเทศกาลต่างๆ ในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษของจังหวัดโออิตะ ด้วยเหตุนี้ สมาคมส่งเสริมคะโบะสุจังหวัดโออิตะก็ได้ดำเนินกิจกรรมการขยายตลาดผู้บริโภคให้กว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หลังจากปีค.ศ. 1978 จังหวัดโออิตะได้ครอบครองปริมาณการผลิตคะโบะสุมากกว่า 90 % ของทั่วทั้งประเทศมาโดยตลอด สามารถกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการส่งเสริมคะโบะสุที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจากแหล่งทำการผลิตอื่นๆ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น