โอดะเตะทมบุริ

โอดะเตะทมบุริ

หมายเลขจดทะเบียน 32
ชื่อของ GI โอดะเตะทมบุริ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2017/05/26
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอะคิตะ
โอดะเตะชิ
ติดต่อที่อยู่

สหกรณ์การเกษตรอะคิตะคิตะ

7-22 เนะเกะโทะชินมาจิ, โอดะเตะชิ, จังหวัดอะคิตะ

http://www.ja-akitakita.or.jp/

พื้นที่ผลิต

ทมบุริคือสิ่งที่ได้จากการนำผลสุกเต็มที่จากต้นโฮคิงิ (Bassia scoparia) ซึ่งเป็นต้นหญ้าที่ออกดอกครั้งเดียวภายในหนึ่งปีที่ปลูกนั้นมาให้ความร้อนและแปรรูปเป็นอาหาร การแปรรูปทมบุรินั้นทำได้ยากจึงทำให้การผลิตไม่แพร่หลายไปยังพื้นที่อื่นๆ ภายในประเทศ แต่สำหรับ "โอดะเตะทมบุริ" ในโอดะเตะชิ จังหวัดอะคิตะนี้ได้ดำเนินการปลูกและการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง และได้กลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษของอะคิตะ

"โอดะเตะทมบุริ" มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 - 2 mm ไม่มีรสไม่มีกลิ่น ส่วนมากมักจะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารที่ให้สัมผัสการเคี้ยวได้อย่างเพลิดเพลิน สัมผัสที่ได้เมื่อผลกระทบฟันจะทำให้มีความรู้สึกคล้ายกับไข่ปลาที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆ เคี้ยวกรุบๆ จนได้รับขนานนามว่าอีกอย่างหนึ่งว่า "คาเวียร์แห่งสวน" เป็นที่นิยมถึงขนาดที่ว่าเมื่อถึงเดือนตุลาคม ทมบุริที่ออกใหม่ๆ นั้นจะมีแฟนที่นิยมชมชอบทั้งจากในและต่างจังหวัดมาสั่งซื้อกันเป็นจำนวนมาก

ผลที่สุกงอมของโฮคิงินั้นจะถูกเก็บเกี่ยวด้วยคอมไบน์หรืออื่นๆ นำมาตากแห้งกลางแจ้งประมาณ 1 สัปดาห์หรือใช้เครื่องอบแห้ง นำผลที่แห้งดีแล้วมาต้มในหม้อใช้เวลาพอสมควร แช่ด้วยน้ำร้อนทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทำการนวดผล ลอกเปลือกนอกออกแล้วทำให้แห้งเป็นการเสร็จขั้นตอน

เดิมทีนั้นโฮคิงิถูกนำมาปลูกในภูมิภาคต่างๆ ของญี่ปุ่นเพื่อการทำ "ไม้กวาด" แต่เนื่องจากปริมาณการผลิตไม้กวาดในประเทศได้ลดลงซึ่งส่งผลให้การปลูกโฮคิงิก็เสื่อมถอยลงตามไปด้วย ในขณะที่พื้นที่โอดะเตะชิในปัจจุบันนี้นั้นมีวัฒนธรรมการรับประทานผลโฮคิงิมาตั้งแต่สมัยเอโดะ เกษตรกรได้นำมารับประทานในครัวเรือนของตน

ในปีค.ศ. 1973 ได้มีการสร้างสถานที่แปรรูปขึ้นที่โอดะเตะชิ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ทำให้ "โอดะเตะทมบุริ" นั้นเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งประเทศ ส่งผลให้มีปริมาณการปลูกและการแปรรูปเพิ่มมากขึ้นตามมา

เขตฮิไน โอดะเตะชินี้มีภูมิประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาและมีลมพัดผ่านน้อย จึงทำให้ผลของโฮคิงิไม่ถูกพัดให้ตกลงมาสามารถเก็บเกี่ยวผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีลุ่มน้ำสุมิยะกาวาในเขตเดียวกันนี้ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ที่จำเป็นต่อการแปรรูปทมบุริ ทั้งเงื่อนไขในด้านธรรมชาติก็เหมาะสมต่อการผลิต "โอดะเตะทมบุริ" ด้วยเช่นกัน

เงื่อนไขทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยดังกล่าวนี้ ทำให้ "โอดะเตะทมบุริ" ได้เป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งประเทศพร้อมๆ กับการพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการแปรรูปและการพัฒนาความสะดวกในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคด้วยเช่นกันและพื้นที่ทำการเพาะปลูกนั้นได้ขยายเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงประมาณ 10 ปีนับตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 ปัจจุบัน ที่ตลาดการค้านั้นไม่มีข้อมูลที่ระบุถึงการไหลสู่ตลาดของทมบุริจากแหล่งผลิตอื่นๆ กล่าวกันว่าทมบุริที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดการค้านั้นเป็นของโอดะเตะทมบุริทั้งสิ้น

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น