มาเอะซาวะกิว
มาเอะซาวะกิว
หมายเลขจดทะเบียน | 28 |
---|---|
ชื่อของ GI | มาเอะซาวะกิว |
การแบ่งประเภท | เนื้อ |
วันที่ลงทะเบียน | 2017/03/03 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดอิวะเทะ
มาเอะซาวะคุ, โอชูชิ |
ติดต่อที่อยู่ | สหกรณ์การเกษตรอิวะเทะ ฟุรุซาโตะ 131-1 โอยามะอะซะสุกะยะจิ, อิซาวะคุ, โอชูชิ, จังหวัดอิวะเทะ |
"มาเอะซาวะกิว" นั้นได้มาจากโคขุนที่ถูกเลี้ยงในขั้นตอนสุดท้าย ที่มาเอะซาวะคุ, โอชูชิ จังหวัดอิวะเทะในช่วงระยะเวลาที่นานที่สุด เนื้อวัวที่ถูกแล่ออกเป็นส่วนๆ นั้นมีคุณลักษณะที่โดดเด่นคือมีไขมันแทรกซึมที่เรียกว่าชิโมะฟุริที่ละเอียด มีความเหนียวนุ่มเมื่อรับประทาน ไขมันแทรกนั้นไม่เลี่ยน เมื่อนำเข้าปากกลิ่นหอมเกรดสูงนั้นจะกระจายไปทั่วภายในปาก รู้สึกราวกับว่าเนื้อนั้นได้ละลายหายไปในปากซึ่งถือเป็นเนื้อวัวชั้นยอด ไม่ว่าจะนำไปปรุงอาหารประเภทใดก็จะได้รสชาติที่ยอดเยี่ยมอาทิเช่น เนื้อย่าง, สุกี้ยากี้, ชาบุชาบุ, สเต็กและอื่นๆ เป็นต้น โดยเฉพาะ "มาเอะซาวะกิวโนะนิกิริ (ซูชิ)" ที่เสิร์ฟในสไตล์เนื้อลนไฟที่มีการปรับระดับความแรงไฟได้อย่างยอดเยี่ยมจนถูกขนานนามว่าเป็น "ริคุโนะโทโระ (ปลาทูน่าบนบก) "
การเลี้ยงวัว "มาเอะซาวะกิว" นั้นจะให้อาหารจำพวกฟางข้าวที่มีคุณภาพดีปลูกในเขตนี้ไปพร้อมๆ กับการที่ผู้เลี้ยงให้ความรักความเอาใจใส่แก่วัวแต่ละตัวสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดความเครียดต่อวัว ลูกวัวก่อนที่จะนำมาเลี้ยงเป็นวัวพันธุ์นั้นเป็นวัวพันธุ์คุโระเกะ (ขนดำ) ของญี่ปุ่นที่ถูกตอนแล้ว สามารถคุ้มครองลูกวัวก่อนจะนำมาเลี้ยงเป็นวัวพันธุ์ที่ยอดเยี่ยมโดยหลีกเลี่ยงคู่แข่งในพื้นที่ทำการผลิตอื่นๆ ได้แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่นำเข้ามาช่วยสร้างเนื้อวัวที่มีไขมันแทรก ดำเนินการควบคุมดูแลอย่างละเอียดต่อวัวแต่ละตัวในแต่ละสไตล์การเลี้ยงของเกษตรกร ซึ่งมีแกนหลักอยู่ที่การบริหารงานเลี้ยงวัวจำนวนน้อยโดยเฉลี่ยประมาณ 25 ตัวต่อหนึ่งหลังคาเรือน
มาเอะซาวะคุ, โอชูชิ จังหวัดอิวะเทะนั้นมีแม่น้ำคิตะคามิกาวาไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ น้ำจากการละลายของหิมะที่มีความอุดมสมบูรณ์ไหลมาจากเทือกเขาโออุซัมเมียะคุและภูเขาคิตะคามิซังจิ และในพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่นี้ก็เหมาะสำหรับการทำนาข้าว ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการฟางข้าวที่มีคุณภาพดีอีกทั้งมีความสะอาดบริสุทธิ์ได้เป็นอย่างดี
ที่ผ่านมาได้นำลักษณะของพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตม้านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้มีการนำเข้าวัวตัวเมียแม่พันธุ์จากจังหวัดโอคายามะและจังหวัดชิมะเนะซึ่งถือเป็นจุดเริ่มของการผลิตลูกวัวสายพันธุ์คุโระเกะของญี่ปุ่น ในขณะนั้นยังเป็นเพียงการผลิตลูกวัวเท่านั้น ยังไม่มีการเลี้ยงโคขุนแต่อย่างใด แต่ลูกวัวที่ผลิตนั้นไม่มีพ่อค้าจากท้องถิ่นที่รับซื้อจึงทำให้ราคาตกต่ำ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ในปีค.ศ. 1965 ก็ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรมาเอะซาวะโจขึ้น และได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงโคขุน ด้วยเหตุนี้การเลี้ยงโคขุนพันธุ์คุโระเกะของญี่ปุ่นจึงได้เริ่มขึ้นมา
หลังจากนั้น ได้เริ่มดำเนินการจัดฝึกอบรมหัวหน้าผู้ชี้แนะการบริหารงานการเลี้ยงโคขุนและเทคโนโลยีขึ้น และจัดให้มีการฝึกหัดการควบคุมดูแลการเลี้ยงวัวโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาทำการฝึกสอนและอื่นๆ ซึ่งเป็นการวางแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตของทั่วทั้งภูมิภาค
จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนี้ นับเป็นหนทางการผลิตโคขุน ข้อมูลของเนื้อวัวที่แล่เป็นส่วนๆ ของโคขุนที่ได้ส่งออกไปนั้นได้กลับมาสู่เกษตรกรผู้ทำการขยายพันธุ์นั้น ก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างระบบการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตลูกวัว "มาเอะซาวะกิว "ไปจนถึงโคขุนโดยอยู่ภายในเขตนี้