โทะคุซัง (ผลิตภัณฑ์พิเศษ) มัตสึซากะกิว

โทะคุซัง (ผลิตภัณฑ์พิเศษ) มัตสึซากะกิว
※提供元:松阪牛連絡協議会

หมายเลขจดทะเบียน 25
ชื่อของ GI โทะคุซัง (ผลิตภัณฑ์พิเศษ) มัตสึซากะกิว
การแบ่งประเภท เนื้อ
วันที่ลงทะเบียน 2017/03/03
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดมิเอะ
22 หมู่บ้านตำบลและเมืองในฐานะที่เป็นชื่อเขตการปกครองณ วันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 (มัตสึซากะชิ, ซึชิ, อิเสะชิ, ฮิสะอิชิ, คะระสุโจ, อิจิชิโจ, ฮะคุซังโจ, อุเระชิโนะโจ, มิสุกิมูระ, มิคุโมะโจ, อีนันโจ, อีทะคะโจ, ทะคิโจ, เมวะโจ, โอไดโจ, เซวะมูระ, มิยะกาว
ติดต่อที่อยู่

สมาคมติดต่อประสานงานมัตสึซากะกิว

1340-1 โทโนะมาจิ, มัตสึซากะชิ, จังหวัดมิเอะ

https://www.city.matsusaka.mie.jp/site/matsusakaushi/

พื้นที่ผลิต

"โทะคุซัง (ผลิตภัณฑ์พิเศษ) มัตสึซากะกิว" หมายถึงวัวตัวเมียที่ไม่เคยตั้งท้องมาก่อนเป็นวัวสายพันธุ์คุโระเกะ (ขนดำ) ของญี่ปุ่น (Japanese Black) ที่เกิดในจังหวัดเฮียวโกะและมีอายุถึง 12 เดือนซึ่งผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด นำเข้ามายังมัตสึซากะชิและภายในเขตหมู่บ้านตำบลและเมืองที่ถูกกำหนดไว้ของจังหวัดมิเอะ ทำการเลี้ยงขุนในพื้นที่ทำการผลิตวัวดังกล่าวเท่านั้นเป็นเวลา 900 วันขึ้นไป ซึ่งแสดงถึงมัตสึซากะกิวที่ได้รับการเลี้ยงขุนอย่างเสร็จสมบูรณ์ในพื้นที่ทำการผลิตนั้นๆ คุณภาพของเนื้อวัวนั้นมีไขมันแทรกที่ละเอียดรสหวานและกลิ่นหอมระดับสูง ไขมันอันอ่อนนุ่มดังกับละลายหายไปได้เมื่อเข้าปากซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นของเนื้อวัว เมื่อวิเคราะห์ถึงส่วนประกอบไขมัน เมื่อเปรียบเทียบกับวัวพันธุ์คุโระเกะอื่นๆ แล้วจะพบว่ามีอัตราส่วนของส่วนประกอบที่ละลายได้ในอุณหภูมิต่ำๆ ที่สูง ซึ่งสามารถยืนยันถึงคุณลักษณะไขมันของ "โทะคุซังมัตสึซากะกิว" ได้เป็นอย่างดีว่าสามารถละลายได้ภายในปาก

ลูกวัวที่นำเข้ามาและรับการขุนในระยะเวลาที่นานกว่า 900 วัน จะทำการเลี้ยงขุนวัวให้มีอายุถึง 13 เดือนโดยมุ่งไปที่ "ฮาระซึคุริ(การทำกระเพาะอาหาร)" เป็นหลักสำคัญ กระเพาะที่ 1 ที่เรียกว่ารูเมนนั้น เพื่อสร้างให้ใหญ่และแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะให้อาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อให้ใช้เวลาในการเคี้ยวเอื้องนานๆ อาหารที่ให้ดังกล่าวนั้นจะตกค้างอยู่ในกระเพาะรูเมนนานซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นมาช่วยย่อยอาหารในเบื้องต้นที่อยู่ในรูเมนสร้างกระบวนการหมักที่ดี

ต่อจากนั้นวัวที่มีอายุถึง 22 เดือน เพื่อเป็นการสร้างกล้ามเนื้อจะให้อาหารที่มีส่วนประกอบของปริมาณโปรตีนหยาบอยู่สูงประมาณ 17 % และเพื่อเป็นการสร้างเนื้อแดงที่มีไขมันละเอียดแทรกซึมที่เรียกว่าชิโมะฟุริ จะจำกัดการให้อาหารที่มีวิตามินเอ รักษาปริมาณความเข้มข้นของวิตามินเอในเลือดให้ต่ำ

การดำเนินการขั้นสุดท้ายสำหรับการส่งออกวัวที่มีอายุโดยเฉลี่ยถึงประมาณ 41 เดือน เพื่อทำให้เซลล์ไขมันในกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น และสร้างชิโมะฟุริที่สวยในขั้นสุดท้าย จะทำการจำกัดปริมาณสารประกอบโปรตีนและให้อาหารที่มีคุณสมบัติของแป้งที่สูง

ในเขตนี้ มีน้ำและดินอันอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งสภาพทางภูมิอากาศอันอบอุ่นที่เอื้ออำนวย วัฒนธรรมทางการเกษตรที่เจริญรุ่งเรืองโดยมีการทำนาเป็นหลักนั้นได้ยึดติดอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่สมัยอดีต เพื่อนำวัวมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจึงได้มีการนำวัวตัวเมียที่เชื่องเลี้ยงง่ายมาจากจังหวัดเฮียวโกะเข้ามาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย วัวใช้งานเหล่านี้ได้กลายมาเป็นวัวขุนในเวลาต่อมา และนี่ก็เป็นความเป็นมาของโทะคุซังมัตสึซากะกิวที่มีจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง

วัวพันธุ์หรือโคขุนของจังหวัดเฮียวโกะนั้น ไม่ได้ประสิทธิภาพทางด้านการเลี้ยงขุนวัวเพื่อเพิ่มน้ำหนัก มีความเสียเปรียบทางด้านการบริหารแต่เทคโนโลยีในการเลี้ยง "โทะคุซังมัตสึซากะกิว" ที่เรียกหาถึงไขมันแทรกที่ละเอียดในเนื้อวัวและรสชาติความอร่อยที่โดดเด่นไม่มีใครเทียบนั้นเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์มาจนถึงทุกวันนี้

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น