คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ
คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ
※提供元:くにさき七島藺振興会
หมายเลขจดทะเบียน | 22 |
---|---|
ชื่อของ GI | คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ |
การแบ่งประเภท | อื่นๆ |
วันที่ลงทะเบียน | 2016/12/07 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดโออิตะ
คุนิซากิชิ, คิซึคิชิ |
ติดต่อที่อยู่ | สมาคมส่งเสริมคุนิซากิชิจิโทอิ 3209 โทมิคิโยะ,อะคิมาจิ,คุนิซากิชิ,จังหวัดโออิตะ |
"คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ" เป็นเสื่อปูพื้นที่ทำขึ้นโดยใช้ชิจิโทอิ (พืชวงศ์กก (Cyperaceae) ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มาเป็นวัตถุดิบซึ่งผลิตได้จากคุนิซากิชิหรือคิซึคิชิของจังหวัดโออิตะ เมื่อเปรียบเทียบกับด้านหน้าของอิกุสะโดยทั่วไปแล้ว มีลักษณะที่โดดเด่นคือมีสัมผัสที่หยาบแบบธรรมชาติ มีความทนทาน 5-6 เท่าและมีคุณสมบัติทนทานต่อการไหม้เกรียมมากกว่า 2 เท่า ดังนั้นจึงนำมาใช้ปูพื้นสำหรับการเล่นยูโด, เป็นสถานที่ทำงานของช่างฝีมือและใช้เป็นที่นั่งของในโรงละครมาตั้งแต่ครั้งอดีตซึ่งถือเป็นสิ่งที่ใช้ปูพื้นที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตประจำวัน
ด้านหน้าเสื่อทาทามิของอิกุสะโดยทั่วไปแล้ว ในหนึ่งตาเย็บนั้นจะใช้เชือก 2 เส้นเย็บแต่สำหรับ "คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ" นั้นดังที่เรียกกันว่าอะโอะมุชิโระ (เสื่อสีเขียว) ซึ่งในหนึ่งตาเย็บนั้นใช้เชือกเย็บเส้นเดียว ระหว่างตาของเสื่อนั้นจะทอขึ้นอย่างหยาบๆ "คุนิซากิชิจิโทอิโอะโมะเตะ" ที่ทอได้นั้นจะเปลี่ยนไปจากสีครีมเป็นสีลูกกวาดคือมีสีน้ำตาลอ่อนๆ มีความเป็นเงาซึ่งต่างจากด้านหน้าเสื่อโดยทั่วไป ยิ่งใช้งานก็ยิ่งเพิ่มความเงางามขึ้นไปเท่านั้น
กล่าวกันว่าชิจิโทอินั้นได้มีการเพาะปลูกไปจนถึงการแปรรูปที่เขตริวคิว (จังหวัดโอกินาวา) และที่สะซึมะฮัน (จังหวัดคาโงะชิมะ) ตั้งแต่ก่อนสมัยเอโดะ (ปีค.ศ 1600 - 1868) เรียบร้อยแล้ว ในจังหวัดโออิตะนั้นได้รับเข้ามาหลังจากปีค.ศ. 1660 และได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ชายผั่งทะเลอ่าวเบ็บปุวันอย่างรวดเร็ว
ชิจิโทอิ มีสภาพทางภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิสูงพอๆ กับเขตร้อนจึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของอิกุสะได้อย่างเต็มที่ แต่จะทำให้เปลือกนอกมีความแข็ง ในทางตรงกันข้าม ไม่ทนต่อสภาพอุณหภูมิที่ต่ำ หากมีวันที่ดินแข็งตัวเป็นน้ำแข็งติดต่อกันหลายวันในฤดูหนาวก็จะทำให้รากที่อยู่ใต้ดินนั้นเสียหาย นอกจากนี้หลังจากที่ทำการปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงโรคของพืช จึงจำเป็นต้องปรับให้อยู่ในสภาพแห้งไว้ คุนิซากิฮันโตนั้น เป็นพื้นที่ที่มีเวลาที่แสงแดดส่องในตอนกลางวันที่นานและมีปริมาณฝนน้อยเมื่อเทียบกับที่อื่น สภาพอากาศในฤดูหนาวแทบจะไม่มีน้ำค้างแข็งมีความพร้อมไปด้วยเงื่อนไขที่เหมาะต่อการเพาะปลูกชิจิโทอิเป็นอย่างยิ่ง
อะโอะมุชิโระที่ผลิตในโออิตะนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในนามของบุนโกะโอะโมะเตะในสมัยเอโดะ ในปลายสมัยนั้นมีปริมาณการผลิตถึง 3 ล้านผืน ผ่านการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีช่วงที่ทำการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือผลิตได้ถึง 5 ล้าน 5 แสนผืนเป็นที่น่าภาคภูมิใจ หลังจากนั้นจากการที่มีนโยบายการอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้จึงเป็นเหตุทำให้มีผู้ทำการผลิตลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ในปีค.ศ. 2009 บริษัทผลิตเสื่อทาทามิของจังหวัดโออิตะ ได้เริ่มดำเนินการป้องกันไม่ให้แหล่งทำการผลิตชิจิโทอินั้นสูญหายไป และในปีถัดไปก็มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และได้ดำเนินการก่อตั้ง "สมาคมส่งเสริมคุนิซากิชิจิโทอิ" ขึ้นเป็นเวลาต่อมา ในช่วงนั้นเกือบจะสูญเสียพื้นที่ทำการผลิตไปซึ่งมีผู้ทำการผลิตเพียง 5 คนโดยมีผู้สูงอายุเป็นแกนหลัก หลังจากนั้นได้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น และได้มีการจัดงานกิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ทำการผลิตให้คงอยู่ต่อไป