โนะโทะชิคะโคโรกะคิ

โนะโทะชิคะโคโรกะคิ

หมายเลขจดทะเบียน 20
ชื่อของ GI โนะโทะชิคะโคโรกะคิ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2016/10/12
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอิชิคาวา
ชิคะมาจิ, ฮะคุอิกุน เดิมเป็นเขตชิคะมาจิตั้งแต่ปีค.ศ. 1970 ถึงปีค.ศ. 2005
ติดต่อที่อยู่

สหกรณ์การเกษตรชิคะ

1 สุเอะโยชิชินโบมุไค, ชิคะมาจิ, ฮะคิอิกุน,จังหวัดอิชิคาวา

http://www.ja-shika.jp/

พื้นที่ผลิต

"โนะโทะชิคะโคโรกะคิ" เป็นลูกพลับแห้งที่ผลิตอยู่ในเขตโนะโทะ จังหวัดอิชิคาวา โดยใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งมีลูกพลับพันธุ์ "ไซโช" ของท้องถิ่นนั้นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับลูกพลับแห้งที่ผลิตที่อื่นๆ แล้ว ดูจากภายนอกจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ (อาเมะอิโระ (สีลูกอมดั้งเดิมของญี่ปุ่น)) สดใส มีเนื้อเหนียวคล้ายโยกัน (วุ้นถั่วแดงญี่ปุ่น) มีเนื้อละเอียดอ่อนนุ่มเป็นลักษณะที่โดดเด่น

เกี่ยวกับกรรมวิธีการทำ การควบคุมอุณหภูมิอย่างละเอียด เพื่อการอบแห้งอย่างช้าๆ นั้นถือเป็นจุดที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกพลับแห้งนั้นมีเนื้อที่ละเอียดอ่อนนุ่ม สีที่ได้จะเป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีน้ำตาลอ่อนๆ ใส

เริ่มต้นที่การเตรียมโดยทั่วไปเช่นการตัดรอบขั้วของลูกพลับที่ใช้เป็นวัตถุดิบ, การปอกเปลือกเป็นต้น แล้วนำไปตากแห้งตามธรรมชาติอย่างช้าๆ ประมาณ 14 - 17วัน เงื่อนไขเมื่อทำการตากแห้งตามธรรมชาตินั้นคำนึงถึงความแรงของลมที่พัด, อุณหภูมิ, ความชื้น, แสงเป็นต้นซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมของเขตนี้นั้นเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการทำลูกพลับอบแห้งสีน้ำตาลอ่อนใสนี้

เมื่อผ่านการตากแห้งตามธรรมชาติแล้ว ต่อไปจะเป็น "การนวดด้วยมือ" เพื่อคลายเนื้อลูกพลับให้ทั่ว การนวดด้วยมือนี้จะทำการตัดแกนของผลไปพร้อมๆ กับนวดเนื้อลูกพลับให้มีความอ่อนอย่างสม่ำเสมอกันอย่างพิถีพิถันโดยให้อ่อนพอๆ กับความอ่อนของติ่งหู เนื่องจากในขณะที่ทำการนวดด้วยมือนั้นน้ำที่อยู่ข้างในเนื้อลูกพลับจะผุดออกมาตามผิวด้านนอก จึงทำการอบแห้งโดยใช้เครื่องทำความอุ่นอบแห้งภายในห้อง ในการนี้จะทำการปรับความร้อนที่มาจากเครื่องทำความอุ่นอย่างละเอียด อบเพื่อให้น้ำที่อยู่ในผลนั้นระเหยแห้งไปอย่างช้าๆ หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าแม้จะหยุดการอบความร้อน ผิวรอบนอกผลนั้นไม่มีน้ำผุดออกมาแล้ว จึงนำไปเก็บไว้ในที่มืดและเย็น ปล่อยไว้จนกระทั่งถึงก่อนเวลาที่ผงแป้งสีขาวของน้ำตาลนั้นจะเคลือบผิวรอบนอกผล

สภาพทางภูมิอากาศของเขตนี้นั้น ตอนกลางวันจะอบอุ่นแต่ตอนเช้าและตอนเย็นอุณหภูมิจะลดลง แม้จะเป็นฤดูร้อนก็รู้สึกเย็นสบาย ดังนั้นจึงสร้างลูกพลับที่มีระดับน้ำตาลที่สูง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยหลังจากเดือนพฤศจิกายนจะมีอุณหภูมิประมาณ 10℃ ซึ่งเป็นอุณหภูมิภายนอกที่เหมาะสมสำหรับการตากลูกพลับ และนอกจากนี้เขตที่ทำการผลิตนั้นตั้งอยู่ในส่วนชายฝั่งทะเลของคาบสมุทรโนะโทะฮันโต มีลมบกลมทะเลพัดผ่านที่พอเหมาะ จึงส่งผลให้เกิดเชื้อราที่ผลได้ยากในตอนทำการตากแห้ง สามารถกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำลูกพลับแห้ง

ในเขตนี้ ตั้งแต่ก่อนสมัยเมจิ (ตั้งแต่ปีค.ศ. 1868) เกษตรกรส่วนใหญ่จะทำการผลิตลูกพลับแห้งตามบ้านเรือนของตนเป็นงานรองในช่วงฤดูหนาว หลังจากนั้นตั้งแต่ประมาณปีค.ศ. 1932 การผลิตได้เปลี่ยนเป็นการทำเพื่อจำหน่ายอย่างจริงจัง ช่วงปีค.ศ. 1960 - 1970 เนื่องจากเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตสูงขึ้น ความต้องการในการส่งมอบเป็นของขวัญมีเพิ่มขึ้นตามมา จึงได้มีการก่อตั้งขึ้นเป็นตลาดขนาดใหญ่เพื่อรองรับโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ เขตท้องถิ่น, คันไซและคันโต

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น