มิชิมะบะเรโชะ
มิชิมะบะเรโชะ
※提供元:三島函南農業協同組合
หมายเลขจดทะเบียน | 18 |
---|---|
ชื่อของ GI | มิชิมะบะเรโชะ |
การแบ่งประเภท | ผัก ธัญพืช พัลส์ |
วันที่ลงทะเบียน | 2016/10/12 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดชิซุโอกะ
เขตฮาโคะเนะ เซโระคุของมิชิมะชิ (สะโนะ, โทะคุระ, ซะวะจิ, คาวาฮาระกะยะยามาดะ, คาวาฮาระกะยะโอซาวะ, คาวาฮาระกะยะโมโตะยามะนาคะ, ซึคะฮาระชินเด็น, อิจิโนะยามะชินเด็น, มิซึยะชินเด็น, สะสะฮาระชินเด็น, ยามะนาคะชินเด็น, ยาตะไดซากิ, ทามะซาวะ) เขตฮาโคะเนะ เซโระคุของคั |
ติดต่อที่อยู่ | Fuji-Izu Japan Agricultural Cooperatives 415-1 Aza Kamishoji, Shimokanuki, Numazu City, Shizuoka Prefecture |
"มิชิมะบะเรโชะ" เป็นมันฝรั่งบะเรโชะชนิดพันธุ์เมควีนที่ทำการผลิตอยู่ในแต่ละเขตของมิชิมะชิและคันนะมิโจ, ทะกะตะกุนของจังหวัดชิซุโอกะซึ่งเป็นเขตเซโระคุของฮาโกเนะ มีลักษณะที่โดดเด่นคือไม่มีริ้วรอยที่ผิว, มีผิวนอกที่มันวาวงดงาม, มีเนื้อที่เหนียวและไม่เละง่ายซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเมควีน และมีรสหวานเนื้อร่วนเหนียวอร่อยคล้ายกับพันธุ์ "ดันชะคุ"
ในกระบวนวิธีการปลูก "มิชิมะบะเรโชะ" นั้นจะคลุมด้วยผ้าพลาสติกที่ชั้นผิวของดิน การเก็บเกี่ยวนั้นจะกระทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดริ้วรอยที่ผิวของมันฝรั่ง หลังจากเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เก็บไว้ในที่มืดและเย็นมีการระบายอากาศดีทำให้แห้งพร้อมกับทำการเก็บรักษา เพื่อทำให้สุกได้ที่อย่างเพียงพอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ได้มาซึ่งความหวานและเนื้อมันฝรั่งที่ชุ่มฉ่ำร่วนอร่อยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาให้สูงขึ้น หากเก็บบะเรโชะทั้งๆ ที่ผิวนอกนั้นยังไม่แห้งดีล่ะก็ จะทำให้มีเหงื่อของมันฝรั่งออกตามผิวไม่สามารถหายใจได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรอยช้ำและเน่าเสียเป็นสาเหตุของการป่วยของมันฝรั่ง การผึ่งลมเพื่อทำให้แห้งดีนั้นจะช่วยรักษาคุณภาพให้คงอยู่ได้นานแม้จะเป็นหลังจากผู้บริโภคได้ซื้อไปแล้วก็ตาม
ดินของเขตฮาโคะเนะ เซโระคุซึ่งเป็นพื้นที่ทำการผลิตนั้น เป็นดินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินที่เปลี่ยนเป็นชั้นดินสีดำอันเกิดจากการทับถมของเถ้าถ่านจากการระเบิดของภูเขาไฟมาเป็นเวลาเนิ่นนานหลายปีซึ่งเรียกกันว่าคุโระโบะคุโดะ ชั้นดินที่ทำการเพาะปลูกนั้นมีความลึกและอ่อนจึงส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการแทรกซึมของน้ำ, การระบายอากาศ, การรักษาน้ำที่ดีเยี่ยม
อีกทั้งอุณหภูมิของเขตนี้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงแตกหน่อนั้น ในสภาพที่คลุมด้วยผ้าพลาสติกจะทำให้อุณหภูมิของดินอยู่ระหว่าง 10-15 ℃ หลังจากนั้นอุณหภูมิโดยเฉลี่ยรายวันของช่วงระหว่างการเจริญเติบโตจะอยู่ระหว่าง 13-20℃ นอกจากนี้ระหว่างช่วงทำการปลูกนั้นมีปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมและไม่มีปัญหาในเรื่องดินที่แห้งเกินไป การที่มีปริมาณน้ำที่เหมาะสมและสภาพภูมิอากาศที่เย็นสบายซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการปลูกบะเรโชะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นที่นี่พื้นที่มีความเหมาะสมตรงกับเงื่อนไขเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เนื่องจากพื้นที่ทำการเพาะปลูกของเขตนี้มีความลาดเอียงไปทางทิศใต้ ซึ่งเวลาที่แสงอาทิตย์ส่องจะนานและมีการระบายน้ำดี ซึ่งเป็นสภาพที่ช่วยส่งเสริมต่อการผลิตบะเรโชะให้สูงยิ่งขึ้น อีกทั้งพื้นที่ทำการเพาะปลูกนั้นเป็นที่ดินที่มีความลาดเอียงซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำการเก็บเกี่ยวแต่กลับเป็นผลที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างดีในการเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถันค่อยเป็นค่อยไป