คะกะมารุอิโมะ

คะกะมารุอิโมะ
※提供元:南加賀地区丸いも生産協議会

หมายเลขจดทะเบียน 17
ชื่อของ GI คะกะมารุอิโมะ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2016/09/07
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอิชิคาวา
โนะมิชิและโคะมะซึชิ (ทะคันโดมาจิ, โนะดะมาจิ, ฮิโตซึฮาริมาจิ)
ติดต่อที่อยู่

สมาคมการผลิตมารุอิโมะเขตมินามิคะกะ

(ในJAเนะอะกะริ) 40 ไทเซมาจิริ, โนะมิชิ, จังหวัดอิชิคาวา

พื้นที่ผลิต

"คะกะมารุอิโมะ" เป็นยามะโตะอิโมะ (ยามะอิโมะ กลุ่มหนึ่ง) ชนิดหนึ่งพันธุ์เปลือกสีดำซึ่งผลิตอยู่ในเมืองโนะมิชิและโคะมะซึชิ จังหวัดอิชิคาวา โดยปกติจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอิโจอิโมะซึ่งมีลักษณะรูปร่างตามชื่อ (อิโจคือต้นแป๊ะก๊วย)คือมีรูปร่างคล้ายใบของอิโจในขณะที่รูปทรงมีลักษณะกลมคล้ายลูกซอฟท์บอล ความเหนียวหนืดเมื่อขูดเป็นโทโรโระนั้นจะได้ความเหนียวหนืดถึงหลายเท่าของนากาอิโมะ (เป็นกลุ่มยามะอิโมะที่พบได้บ่อยๆ) หากคีบโทโรโระดูก็จะยืดตัวได้ถึง 20 cm ถึง 30 cm เลยทีเดียวมีลักษณะเฉพาะคือเคี้ยวกรอบและกลิ่นหอมรสอร่อยกลมกล่อมที่เป็นจุดเด่นของยามะอิโมะ อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย

วิธีนำมารับประทาน นอกจากจะนำมาขูดทั้งดิบๆ เป็น "โทโรโระ" แล้ว ยังนำมาใช้ในหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น "อิโซะเบะอะเกะ", "ดังโงะจิรุ", "โอะโคโนมิยากิ" เป็นต้น นอกจากนี้ความเหนียวหนืดที่มากและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์นั้นยังนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อาทิเช่น โซบะ, อุด้ง, ขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่น, ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์น้ำ (ฮัมเพ็น, จิคุวะ)

ยามะอิโมะเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นวัตถุดิบอาหารเกรดสูงตั้งแต่อดีตดังที่กล่าวไปแล้วนั้น ในการจัดงานไดโจไซ (เป็นหนึ่งในงานพิธีหลังสถาปนาการครองราชย์ของจักรพรรดิ) ที่ได้จัดขึ้นในปีค.ศ. 1990 "คะกะมารุอิโมะ" นั้นได้ถูกนำมาใช้ในราชพิธีด้วย

ที่ผ่านมานั้นได้มีการสำรวจและตรวจสอบพบว่าในการดึงลักษณะเด่นและการเก็บเกี่ยว "คะกะมารุอิโมะ" ให้ได้ปริมาณมากนั้นการเตรียมดินที่ถมให้เป็นเนินสูงสำหรับปลูกและสภาพดินที่อ่อนร่วนระบายน้ำได้ดีและไม้ค้ำที่นำมาใช้ในระหว่างการเจริญเติบโตนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ลงปักไม้ค้ำในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นช่วงที่มันแตกหน่อ ในเดือนถัดไปนำเชือกมามัดขึงไม้ค้ำไว้เพื่อไม่ให้เถาของมันมารุอิโมะนั้นพันกัน การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้มันเกิดผลเสียหายที่เกิดจากแมลงมีน้อยและมีพื้นที่ให้ใบรับแสงแดดได้มาก

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910 (ช่วงต้นสมัยไทโช) กล่าวสืบทอดกันมาว่าคุณซาวาดะและคุณอาคิตะเกษตรกรผู้ริเริ่มพยายามทำการวิจัยการเพาะปลูกมารุอิโมะ และได้แพร่ขยายไปสู่พื้นที่ข้างเคียง ซึ่ง "คะกะมารุอิโมะ" นี้ก็ได้กลายมาเป็น จุดกำเนิดของมารุอิโมะที่หยั่งรากลึกลงในพี้นที่แห่งนี้ ในปีค.ศ. 1934 แม่น้ำเทะโดริกาวาที่ไหลผ่านพื้นที่นี้ เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม มีทรายจากแม่น้ำจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่พื้นที่นา เมื่อปลูกมันในบริเวณที่ทรายแม่น้ำและดินของที่นาผสมอยู่ด้วยกันนั้นทำให้ได้มาซึ่งผลมันขนาดใหญ่และมีความเหนียวหนืดมากเมื่อขูดฝนเป็นลักษณะที่โดดเด่นนั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ บริเวณพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกมารุอิโมะในปัจจุบันนั้น ค่อนข้างจะตรงกับเส้นทางไหลของแม่น้ำตอนเกิดน้ำท่วมในปีค.ศ. 1934 จึงสามารถกล่าวได้ว่าการที่เกิดน้ำท่วมนั่นเองได้สร้างดินที่เหมาะสมในการปลูกมารุอิโมะนี้

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น