ยามะอุจิคะบุระ

ยามะอุจิคะบุระ

หมายเลขจดทะเบียน 16
ชื่อของ GI ยามะอุจิคะบุระ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2016/09/07
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดฟุคุอิ
ยามะอุจิ, วะคะสะโจ, มิคะตะ คามินาคะกุน
ติดต่อที่อยู่

กลุ่มยามะอุจิคะบุระจัง

42-12 ยามะอุจิ, วะคะสะโจ, มิคะตะ คามินาคะกุน, จังหวัดฟุคุอิ

พื้นที่ผลิต

"ยามะอุจิคะบุระ" เป็นคะบุที่นำชนิดพันธุ์ "ยามะอุจิคะบุระ" มาใช้ในการปลูกอยู่ที่เขตยามะอุจิ, วะคะสะโจ จังหวัดฟุคุอิ คะบุโดยทั่วไปจะมีลักษณะกลมมนมีผิวลื่นแต่สำหรับ "ยามะอุจิคะบุระ" นั้นจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือมีลักษณะเป็นรูปทรงโคน ที่ผิวจะมีรอยบุ๋มและขนรากอยู่มาก เนื้อคะบุจะมีเนื้อแน่นและแข็ง มีใบใหญ่ลักษณะคล้ายใบบิวะ (เป็นรูปวงรียาว)และมีรอยตัดอยู่บ้าง ความยาวของใบมีความยาวถึง 60-70 cm ใบและก้านใบคะบุนำมารับประทานลักษณะเดียวกับโนะซาวะนะก็เหมาะเช่นกัน

วิธีการทำอาหารที่เป็นที่นิยมนั้น คือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำซุปเต้าเจี้ยวโดยใส่คะบุและใบลงไปในซุปเต้าเจี้ยว คะบุโดยทั่วไปจะเละเมื่อนำไปต้มซุปแต่ "ยามะอุจิคะบุระ" นั้นจะต้มได้ไม่เละ และการทำคิซะมิซึเคะที่ทำโดยหั่นใบคะบุอย่างละเอียดและหั่นคะบุเป็นรูปใบพัดแล้วกดด้วยเกลือนั้นก็เป็นวิธีการนำไปทำเป็นอาหารที่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของ"ยามะอุจิคะบุระ" โดยเฉพาะในส่วนเนื้อคะบุนั้นได้รับการยอมรับกันว่ามีความกรอบอร่อย

พันธุ์ "ยามะอุจิคะบุระ" นั้นไม่มีการปลูกในพื้นที่อื่นนอกจากที่นี่ ในเขตทำการผลิตนี้เกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะร่วมมือกันทำการรักษาเมล็ดพันธุ์นี้ไว้

ช่วงเดือนธันวาคมที่สวนผักในเขตการผลิตจะทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์คะบุที่ผ่านเงื่อนไขตามที่ได้กำหนดไว้แล้วนำมาปลูกเปลี่ยนใหม่ เงื่อนไขที่ว่านั้นก็คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของคะบุมีขนาดตั้งแต่ 80mm ขึ้นไป, ลักษณะรูปทรงโคนดีมีรูปทรงเอวสูงและไหล่กว้าง, มีขนรากมากและจากไหล่มายังเอวมีสีเขียวติดอยู่เล็กน้อย เพื่อไม่ให้มีการผสมกับคะบุสายพันธุ์อื่น จึงปลูกโดยขึงรอบด้วยตาข่ายกันแมลง ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะทำการหว่านเมล็ดเพื่อให้เกิดเป็นเมล็ดพันธุ์ของ "ยามะอุจิคะบุระ"

พันธุ์ "ยามะอุจิคะบุระ" ที่ใช้อยู่ใน "ยามะอุจิคะบุระ" นั้นเป็นพันธุ์ที่มีมาแต่เดิมของเขตยามะอุจิ เมื่ออ้างอิงจาก "วารสารโทบะมูระ" ของปีค.ศ. 1916 ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของพื้นที่ ซึ่งกล่าวว่า "ทำการผลิตโซะไซ (ผักใบเขียว) ที่มีคุณภาพดี โดยเฉพาะชื่อยามะอุจิคะบุระนั้นมีชื่อเสียงขจรไกลไปทั่วทุกแห่งหน" ด้วยเหตุนี้จึงมีการสันนิษฐานว่าได้ทำการปลูกคะบุอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยเมจิ (ปีค.ศ. 1868 - 1912)

จากการที่ผู้ทำการผลิตได้กล่าวในวันนี้ ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 มีผู้ผลิตกลุ่มน้อยได้ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ตนเพาะเอง ทำการเพาะปลูกเล็กไม่ได้แพร่ขยายนัก ในปีค.ศ. 1987 เนื่องจากเกษตรกรผู้ที่ทำการเพาะปลูกนั้นสูงอายุการปลูกจึงหยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นได้เริ่มเป็นที่สนใจจากสาธารณชนในฐานะที่เป็นผักดั้งเดิม และตั้งแต่ปีค.ศ. 1996 ก็ได้เริ่มมีการเพาะปลูกขึ้นอีกครั้งโดยมีเกษตรกรผู้ผลิตในปัจจุบันนั้นเป็นแกนหลักสำคัญ ซึ่งมีการขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น