โยชิคาวานะสุ
โยชิคาวานะสุ
※提供元:農業公社グリーンさばえ 鯖江市伝統野菜等栽培研究会
หมายเลขจดทะเบียน | 14 |
---|---|
ชื่อของ GI | โยชิคาวานะสุ |
การแบ่งประเภท | ผัก ธัญพืช พัลส์ |
วันที่ลงทะเบียน | 2016/07/12 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดฟุคุอิ
สะบะเอะชิ |
ติดต่อที่อยู่ | กลุ่มวิจัยการปลูกผักดั้งเดิมของสะบะเอะชิ 13-1 นิชิยามะโจ, สะบะเอะชิ, จังหวัดฟุคุอิ (รัฐวิสาหกิจการเกษตร กรีนซะบะเอะ : ในแผนกนโยบายเกษตรกรรมและป่าไม้ที่ว่าการอำเภอสะบะเอะ) |
"โยชิคาวานะสุ" เป็นมะเขือม่วงกลมรูปวงรีไปจนถึงรูปทรงที่คล้ายๆ กระเป๋าสตางค์ที่เรียกว่าคินจะคุ (ถุงกระเป๋าสตางค์ในสมัยก่อนของญี่ปุ่น) ซึ่งทำการผลิตอยู่ทั่วพื้นที่ที่เดิมทีเป็นแถบหมู่บ้านโยชิคาวามูระของสะบะเอะชิ เป็นมะเขือม่วงที่มีเนื้อละเอียดแน่น มีรูปร่างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 cm และมีน้ำหนักประมาณ 300 g ซึ่งลักษณะนี้ทำให้นึกถึงลูกซอฟท์บอล มีรสเข้มข้น ถูกนำไปใช้ในการทำอาหารตามร้านอาหารญี่ปุ่นและภัตตาคารระดับสูงในและนอกเมือง มีเปลือกนอกบางจึงทำให้ผลมะเขือเกิดรอยได้ง่าย ในปัจจุบันจะทำการเพาะปลูกในเรือนเพาะชำเป็นหลัก นอกจากนี้เนื่องจากมีปริมาณน้ำในผลอยู่มาก เมื่อนำมาปรุงโดยใช้ไฟก็จะได้มาซึ่งเนื้อมะเขือที่เหลวอ่อนนุ่ม สีของผลมะเขือเป็นสีม่วงดำ มีความมันวาว ส่วนขั้วจะมีหนามแหลม
ในตลาด การที่เกษตรกรผู้มีทักษะเชี่ยวชาญได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งองค์กรจึงทำให้คุณภาพและปริมาณนั้นมีความมั่นคง การตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดเพื่อการส่งออกสู่ตลาดนั้นเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างสูง อีกทั้งยังเป็นที่ถูกใจของพ่อครัวทั้งหลายตรงที่เป็นมะเขือที่มีเมล็ดเล็กแม้จะนำไปต้มก็ไม่เละ
จุดที่เป็นกรรมวิธีการเพาะปลูกนั้น การที่นำเฉพาะกิ่งมะเขือม่วงที่มี 3-4 กิ่งรวมถึงลำต้นมาปลูก ต้นมะเขือแต่ละต้นนั้นมีพลังที่แข็งกล้าในการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ได้มาซึ่งมะเขือม่วงที่เจริญเติบโตเป็นต้นที่ให้ผลอย่างงดงาม ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวหลักคือ ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ถึงเดือน พ.ย. ปริมาณการเก็บเกี่ยวต่อปี ต้นมะเขือม่วง 1 ต้นจะเก็บผลได้ประมาณ 40 ลูก เมื่อเปรียบเทียบกับมะเขือม่วงพันธุ์ที่ให้ผลเก็บเกี่ยวมากแล้ว จะจำกัดอยู่ที่ปริมาณที่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง
เกี่ยวกับการคัดแยกเพื่อส่งออกสู่ตลาด จะคัดเลือกจากสีของผลมะเขือมีสีม่วงดำ, ความเป็นมันวาวดีและผลที่ไม่มีตำหนิ ไม่มีรูปร่างที่เปลี่ยนไปและไม่ถูกแดดเผา พิจารณาดูส่วนขั้วว่ามีหนามแหลม นำใส่ถุงทีละลูก นำตาข่ายโฟมห่อผลไม้ครอบไว้แล้วจึงส่งออกสู่ท้องตลาด
พื้นที่ที่เดิมทีเป็นแถบหมู่บ้านโยชิคาวามูระของสะบะเอะชินั้นเป็นที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากการท่วมของแม่น้ำเทนโนกาวาที่แยกสายจากฮีโนะกาวา ซึ่งได้นำพาดินทรายทับถมกัน เป็นมุมหนึ่งของแอ่งดินสะบะตะเคะ มีสภาพที่เอื้ออำนวยที่เหมาะต่อการทำการเพาะปลูกมะเขือม่วงทั้งสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์และปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอตลอดปี
"โยชิคาวานะสุ" ประมาณปีค.ศ. 1942 - 1943 ได้มีการผลิตอย่างแพร่หลายโดยมีพื้นที่ที่เดิมทีเป็นแถบหมู่บ้านโยชิคาวามูระนั้นเป็นแกนหลัก แต่เมื่อมะเขือม่วงพันธุ์ที่ให้ผลเก็บเกี่ยวมากได้ทำการปรับปรุงพันธุ์แล้วนั้นมาปรากฎสู่ท้องตลาดก็ทำให้การผลิตโยชิคาวานะสุนั้นลดลงเรื่อยมา ในปีค.ศ. 2009 เมื่อเกษตรกรเพียงคนเดียวที่ยังคงทำการผลิตนั้นได้เสียชีวิตลง การผลิตก็เกือบจะเข้าสู่ภาวะหยุดชะงัก แต่สายพันธุ์ "โยชิคาวานะสุ" ก็ได้รับความปกป้องคุ้มครองจากกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจรับสืบทอดเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันกลุ่มวิจัยการปลูกผักดั้งเดิมได้สร้างองค์กรขึ้นมา ในปีหนึ่งๆ จะทำการผลิตและส่งออกมะเขือม่วงประมาณ 1 หมื่นผล