อิจิดะกะคิ

อิจิดะกะคิ
※提供元:みなみ信州農業協同組合

หมายเลขจดทะเบียน 13
ชื่อของ GI อิจิดะกะคิ
การแบ่งประเภท อาหารแปรรูป
วันที่ลงทะเบียน 2016/07/12
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดนากาโนะ
อีดะชิ, อีจิมะมาจิและนาคากาวามูระในชิโมะอินะกุนและคะมิอินะกุน
ติดต่อที่อยู่

สหกรณ์การเกษตรมินามิชินชู

281, Kanaehigashikanae, Iida City, Nagano Prefecture

http://www.ja-mis.iijan.or.jp/

พื้นที่ผลิต

"อิจิดะกะคิ" ทำการเพาะปลูกอยู่ที่อีดะชิ, อีจิมะมาจิและนาคากาวามูระในชิโมะอินะกุนและคะมิอินะกุน จังหวัดนากาโนะ พันธุ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบนั้นจะใช้เฉพาะอิจิดะกะคิ พันธุ์ชิบุกะคิ (พลับฝาด) เท่านั้น เป็นลูกพลับแห้งที่มีลักษณะเนื้อละเอียด รสชาติถูกปากมีความโดดเด่นโดยเฉพาะและมีผงสีขาวจับอยู่ที่ผิวด้านนอกอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นลักษณะที่โดดเด่นของลูกพลับแห้ง

อิจิดะกะคิ เมื่อสุกงอมเต็มที่จะมีระดับความหวานที่สูงกว่า 18 % เป็นพันธุ์ที่มีระดับความหวานสูง ในการทำเป็นลูกพลับแห้งนั้น จากการที่ทำการอบแห้งและเนื้อลูกพลับเกิดการควบแน่น ระดับความหวานจะมีมากที่สุดถึง 65-70 % การที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของน้ำตาลโดยมีน้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลฟรุกโตสเป็นตัวหลักนั้นจะทำให้รู้สึกถึงความกลมกล่อมอย่างมีรสนิยมสูงและมีรสหวานสม่ำเสมอ นอกจากนี้ "อิจิดะกะคิ" นั้นมีสีออกสีน้ำตาลอ่อนสว่างใสมีความอ่อนนุ่มและมีลักษณะเนื้อที่แน่น ลักษณะที่โดดเด่นเหล่านี้เป็นผลมาจากการที่เพิ่มลักษณะเฉพาะของพันธุ์ดั้งเดิมของอิจิดะกะคิที่เป็นวัตถุดิบ, การอบแห้งอย่างช้าๆ และการนวดที่สม่ำเสมอซึ่งถือเป็นจุดที่มีความสำคัญมาก

การนวดลูกพลับ โดยทั่วไปแล้วจะใช้เครื่องนวด ปรับปริมาณที่ใส่ลงไปในเครื่องและเวลาที่ใช้ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ผลจากการนวดอิจิดะกะคิที่มีขนาดเล็กๆ นั้นจะเกิดผลดี คือจะได้มาซึ่งเนื้อลูกพลับที่มีความนุ่มเหนียวดี อีกทั้งน้ำตาลกลูโคสที่ซึมออกมาจากด้านในของเนื้อลูกพลับจะตกเป็นผลึกน้ำตาลเคลือบผิวนอกของผลกลายเป็นผงสีขาวๆ ผิวด้านนอกจะมีเนื้อละเอียดดังราวกับมีการตกแต่งผิวด้วยเครื่องสำอาง

พื้นที่ที่ทำการผลิต "อิจิดะกะคิ" คือพื้นที่สวนผลไม้ที่แผ่ขยายอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำที่มีลักษณะเป็นขั้นบันไดยาวต่อเนื่องไปตามริมสองฝั่งแม่น้ำเทนริวกาวา ตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงถึงต้นฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงทำการเก็บเกี่ยวลูกพลับนั้น ตอนเช้าและตอนเย็นอากาศจะหนาวเย็นจนทำให้เกิดหมอกแม่น้ำจากแม่น้ำเทนริวกาวา หมอกแม่น้ำจะเลื่อนตัวไปปกคลุมฝั่งแม่น้ำที่เป็นขั้นบันได ส่งผลให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการตากลูกพลับอย่างช้าๆ แม้กระทั่งลูกพลับเล็กๆ อย่างอิจิดะกะคิก็ตาม

มีการปลูกชิบุกะคิ (พลับฝาด) ในเขตนี้ กล่าวกันว่าการทำการแปรรูปนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยคามาคุระ แหล่งกำเนิดของอิจิดะกะคินั้นมีต้นพลับเก่าแก่ที่อยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าชิโมะอิจิดะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1800 "ยากิกะคิ (ลูกพลับปิ้ง) " ที่ใช้ลูกพลับที่ได้จากต้นนั้นมาปิ้งไฟมีรสชาติอร่อยเป็นที่กล่าวขาน ตั้งแต่นั้นมาก็มีการขยายการปลูกไปทั่วทั้งหมู่บ้าน

ในปีค.ศ. 1921 ผู้ที่มีความสนใจของหมู่บ้านอิจิดะมูระในสมัยนั้นได้ทำการวิจัยซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนได้มาซึ่งลูกพลับแห้งที่มีทั้งสีและความมันวาวพร้อมทั้งรสชาติอันยอดเยี่ยม และได้ส่งออกเป็นสินค้าไปสู่ตลาดของโตเกียวแต่ในสมัยนั้นได้ใช้ชื่อ "อิจิดะกะคิ" ซึ่งเป็นชื่อตั้งขึ้นจากพื้นที่ที่เป็นจุดกำเนิดของลูกพลับแห้ง "อิจิดะกะคิ" นั้นจะถือเป็นอาหารที่เก็บรักษาไว้เนื่องจากจะรับประทานกันในช่วงเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็น "ฮะกะตะเมะ (อาหารสำหรับความยืนยาวของชิวิต)" ในต้นปีด้วยจึงถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่แทรกซึมอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวท้องถิ่น

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น