Toyohashi Nambu Tougan / ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ

Toyohashi Nambu Tougan / ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ

หมายเลขจดทะเบียน 116
ชื่อของ GI Toyohashi Nambu Tougan /
ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2022/03/02
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดไอจิ
เมืองโทโยฮาชิ
ติดต่อที่อยู่

JA Toyohashi

5, Nishigawa, Noyoricho, Toyohashi City, Aichi Prefecture

http://www.ja-toyohashi.com

พื้นที่ผลิต

"ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ" คือฟักเขียวผิวมันวาว สีสดใสและไม่ค่อยมีสีด่าง
 หลังเก็บเกี่ยวจะเก็บรักษาชั่วคราวรอให้ผิวมีสีทั่วทั้งลูก จากนั้นจึงขัดเงา คัดแยกแล้วจึงส่งขาย ด้วยกรรมวิธีการผลิตเช่นนี้ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพคงที่ทั้งด้านความมันวาว สี และรูปร่างลักษณะ ทั้งยังสามารถส่งขายได้เป็นระยะเวลานานอันเป็นลักษณะเฉพาะของฟักเขียวชนิดนี้
 ฟักเขียวพันธุ์นี้มีส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ของจังหวัดไอจิซึ่งเป็นแหล่งผลิตอันดับ 2 ของญี่ปุ่น ได้รับการประเมินคุณภาพในด้านที่มีริ้วรอยน้อยและมีส่วนที่สูญเสียน้อยเวลาตัดขายเป็นชิ้น ซึ่งฟักเขียวพันธุ์นี้มีราคาซื้อขายที่สูงกว่าฟักเขียวจากแหล่งผลิตอื่น ๆ ประมาณ 10-30%

"ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ" ปลูกโดยใช้สายพันธุ์ที่กำหนดซึ่งเป็นพันธุ์ที่ครอบครองโดยผู้บริหารสมาคมผู้รักฟักเขียวนัมบุริวกิวอันเป็นองค์กรผู้ผลิตแห่งสหกรณ์การเกษตรโทโยฮาชิ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สามารถใช้พันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกโดยสหกรณ์ตามความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ผลิตอีกด้วย
 การเพาะปลูกจะใช้โรงเรือนหรือปลูกบนดินเปล่าที่มีอุโมงค์คลุมภายในแหล่งผลิต นอกจากนี้ยังใช้แผ่นป้องกัน (วัสดุกันกระแทก) รองแต่ละผลเพื่อป้องกันริ้วรอยบนผิวฟักเขียวและลดความเสียหายจากโรคที่มาจากดิน
 หลังเก็บเกี่ยวจะกำจัดขนหยาบและสิ่งเปรอะเปื้อนออกก่อนส่งขาย และใช้ "เครื่องขัดเงาฟักเขียว" ขัดผิวฟักเขียวทีละลูกเพื่อเพิ่มความมันเงา
 มาตรฐานการส่งขายจะเป็นไปตาม "ตารางมาตรฐานการส่งขาย" โดยจะรอให้ผิวฟักเขียวมีสีทั่วทั้งลูกและเลือกส่งขายเฉพาะผลที่ไม่มีสีด่างและไม่มีความเสียหาย เช่น ริ้วรอยที่ชัดเจน

"ฟักเขียวโทโยฮาชินัมบุ" เพาะปลูกโดยใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นของท้องที่และน้ำอันอุดมสมบูรณ์จากทางน้ำโทโยงาวะ
 ในปี 1968 ทางน้ำโทโยงาวะเปิดให้บริการส่งน้ำทั่วพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาแหล่งน้ำในท้องที่ ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรรมพืชสวนจึงรุ่งเรืองขึ้น และเริ่มมีการเพาะปลูกฟักเขียวอย่างเป็นจริงเป็นจังตั้งแต่ปี 1987
 จากนั้น ในปี 1990 ได้เริ่มใช้แผ่นป้องกัน (วัสดุกันกระแทก) รองฟักเขียวในระยะเติบโต และเริ่มทดลองใช้เครื่องขัดเงาฟักเขียวในปีถัดมา ซึ่งผู้ผลิตได้พยายามยกระดับคุณภาพและลดแรงงานในการผลิตมาโดยตลอด
 นอกจากนี้ ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของการเพาะปลูก ได้มีการดำเนินกิจกรรมการผลิตและการส่งขายโดยปฏิบัติตามมาตรฐานการส่งขายที่เข้มงวดอย่างถี่ถ้วนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุมกำหนดมาตรฐานตามสภาพการเติบโตปีละหลายครั้ง หรือพยายามสร้างมาตรฐานเทคโนโลยีการเพาะปลูก เป็นต้น
 ในปี 2019 มีจำนวนเกษตรกร 25 ราย ปริมาณส่งขายต่อปีอยู่ที่ 897 ตัน

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น