ทตโตะริหลั่กเคียว

ทตโตะริหลั่กเคียว
※提供元:JA全農とっとり 野菜花き課

หมายเลขจดทะเบียน 11
ชื่อของ GI ทตโตะริหลั่กเคียว
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2016/03/10
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดทตโตะริ
สวนเนินทรายที่อยู่ติดกับทตโตะริสะคิวของในเมืองฟุคุเบะโจ ทตโตะริชิ
ติดต่อที่อยู่

สหกรณ์การเกษตรทตโตะริอินะบะ

1-103 เกียวโทะคุ ทตโตะริชิ จังหวัดทตโตะริ

http://www.jainaba.com/

พื้นที่ผลิต

"หลั่กเคียว" มีลักษณะส่วนหัวที่ใช้ปลูกเป็นจำพวกเดียวกับต้นหอม ลักษณะคล้ายทำหอมหัวใหญ่ให้เล็กและผอมลง ในญี่ปุ่นจะนำมารับประทานโดยดองกับน้ำส้มสายชูหวานหรือดองเกลือ

"ทตโตะริหลั่กเคียว" เป็นหลั่กเคียวที่ถูกทำการเพาะปลูกอยู่ในสวนเนินทรายที่อยู่ติดกับทตโตะริสะคิวของในเมืองฟุคุเบะโจ จังหวัดทตโตะริ สัมผัสถึงความกรุบกรอบเมื่อเคี้ยวและมีลักษณะภายนอกสีขาวอันเป็นลักษณะที่โดดเด่น

หากมองจากรูปในภาพตัด เมื่อเปรียบเทียบกับหลั่กเคียวทั่วไปแล้วจะเห็นว่ามีเนื้อแน่น, ความหนาของแต่ละชั้นของกาบหุ้มลำต้นนั้นมีความหนาเท่ากันเกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้หลั่กเคียวมีความกรอบเคี้ยวอร่อยซึ่งมีความแข็งกรอบเหมือนกันตั้งแต่เริ่มเคี้ยว (กาบด้านนอก) ไปจนเคี้ยวหมดปาก (กาบด้านใน) เมื่อตรวจสอบข้อมูลของการวัดเพื่อเปรียบเทียบระดับความแข็งของการแตกหักกับหลั่กเคียวโดยทั่วไปแล้วสามารถตรวจพบได้ว่าค่าโหลดน้อยๆ ในการตัดกาบหลั่กเคียวกาบที่ 2 เป็นต้นไปนั้นแทบจะมีค่าที่ไม่ต่างไปจากกาบที่ 1 เลย

สวนเนินทรายของเขตนี้ เป็นดินที่มาจากดินทรายแทบทั้งหมด ซึ่งไม่มีน้ำและสารอาหารใดที่ไร้ประโยชน์ ดังนั้นในช่วงการเจริญเติบโตของหลั่กเคียว จะมีการหยุดการเจริญเติบโตของใบอ่อน ในส่วนแกนนั้นจะเจริญเติบโตไป ได้เนื้อที่แน่นเพราะเส้นใยที่ละเอียด มีความกรอบอร่อยเมื่อเคี้ยว นอกจากนี้ดินทรายนั้นทำให้สีของหลั่กเคียวเมื่อมองจากภายนอกจะเป็นโทนสีขาวไม่ใช่สีน้ำตาลอ่อนเหมือนหลั่กเคียวทั่วไป

ประวัติความเป็นมาของหลั่กเคียวในเขตฟุคุเบะนั้น กล่าวกันว่าได้เริ่มต้นในสมัยเอโดะ แต่ได้เริ่มทำการเพาะปลูกอย่างจริงๆ จังๆ ตั้งแต่ราวๆ ปีค.ศ. 1914 เดิมทีเคยทำการปลูกลูกพืชและหม่อน (mulberry) เป็นการหลีกเลี่ยงทรายอีกทางหนึ่ง แต่ดินในพื้นที่นั้นไม่เอื้ออำนวยทำให้ผลไม้ที่ปลูกนั้นไม่เจริญเติบโต จากจุดนี้ก็ได้เล็งเห็นว่าลักษณะพิเศษของหลั่กเคียวที่สามารถเจริญเติบโตได้แม้ในพื้นที่ที่มีแร่ธาตุอาหารน้อย จึงได้มีการปรับพื้นที่เนินทรายปรับเปลี่ยนเป็นสวนสำหรับเพาะปลูกหลั่กเคียว หลังจากนั้นยังพบว่าหลั่กเคียวนั้นทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมจึงได้มีการเพาะปลูกทำสวนหลั่กเคียวเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นแหล่งทำการผลิตที่มีขนาดในการดำเนินการบริหารที่ใหญ่เป็นที่โดดเด่นในญี่ปุ่น ช่วงปลายเดือนตุลาคมสีม่วงอ่อนๆ ของหลั่กเคียวจะเบ่งบานพร้อมกัน เมื่อมองจากไกลๆ จะเห็นพรมสีม่วงของดอกหลั่กเคียวที่เบ่งบานงดงามตระการตาเต็มทั่วทั้งบริเวณ เป็นทัศนียภาพที่โดดเด่นเป็นดั่งตัวแทนของทตโตะริสะคิว

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น