ลูกพลับคาชชิ
ลูกพลับคาชชิ
หมายเลขจดทะเบียน | 106 |
---|---|
ชื่อของ GI | ลูกพลับคาชชิ |
การแบ่งประเภท | ผลไม้ |
วันที่ลงทะเบียน | 2021/03/12 |
พื้นที่ทำการผลิต |
จังหวัดอิวะเทะ
เมืองคามาอิชิ |
ติดต่อที่อยู่ | Kasshi Kaki no Sato Production Association 8-154, Kasshicho, Kamaishi City, Iwate Prefecture |
พื้นที่ผลิต
"ลูกพลับคาชชิ" คือลูกพลับที่มีจุดเด่นพิเศษตรงสีแดงสดเหมือนมะเขือเทศสุกงอมและมีเนื้อสัมผัสเหมือนเยลลี่ ซึ่งขจัดความฝาดด้วยวิธีการดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา ผลิตใน อ.คาชชิ เมืองคามาอิชิ จ.อิวาเตะ และบริเวณรอบๆ
ผลิตด้วยวิธีเฉพาะตัว โดยนำลูกพลับที่ยังฝาดใส่เข้าไปในมุโระ (ห้อง) แล้วรมควันให้รสหวาน เป็นสินค้าดั้งเดิมที่คุ้นเคยมาแต่โบราณ ในฐานะรสชาติแห่งฤดูใบไม้ร่วงอันเฉพาะตัวของพื้นที่แถบคามาอิชิ
สายพันธุ์ของ "ลูกพลับคาชชิ" ใช้ลูกพลับโคเอดะซึ่งเป็นพันธุ์ธรรมชาติที่ปลูกในท้องถิ่น
ลูกพลับที่ยังฝาดจะนำใส่เข้าไปในมุโระ จากนั้นจะเผาฟืนและอื่นๆ เพื่อรมควันประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมกับคอยรักษาอุณหภูมิของมุโระให้อยู่ที่ประมาณ 20℃
เกณฑ์ส่งขายคือ ต้องเป็นผลที่ไม่มีรอยแผล ส่วนผลที่มีรอยแผลสามารถส่งขายสำหรับนำไปเป็นวัตถุดิบแปรรูป และอื่นๆ ได้
แหล่งผลิตนี้ถือว่ามีอากาศอบอุ่นในภูมิภาคโทโฮคุ ความเสียหาย เช่น กิ่งไม้หักจากหิมะทับถม และอื่นๆ เกิดขึ้นน้อย อีกทั้งแทบไม่มีความเสียหายจากไต้ฝุ่นหรือลมแรง, น้ำค้างแข็งเลย จึงเป็นสภาพแวดล้อมเหมาะที่จะปลูกไม้ นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นจุดเหนือสุดที่สามารถปลูกต้นพลับภายในประเทศญี่ปุ่นด้วย
ลูกพลับโคเอดะ (ไม่มีเมล็ด) ถูกนำเข้ามาจากพื้นที่แถบเคเซ็นในยุคเมย์จิ (1) หลังจากนั้นก็เป็นเพียงพันธุ์เดียวที่ปลูกเรื่อยมาในแหล่งผลิต ในสมัยนั้นเมื่อนำลูกพลับที่ยังรสฝาดไปวางบนห้องใต้หลังคา ซึ่งอาบควันที่ลอยมาจากเตาอิโรริ (2) ทำให้รสฝาดจางหายไปและหวานขึ้น การผลิตลูกพลับคาชชิจึงเกิดขึ้นเช่นนี้เอง
การรมควันในมุโระเริ่มขึ้นในปี 1945 ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการกำจัดรสฝาดได้ และวิธีการผลิตลูกพลับคาชชิสีแดงสดเนื้อนิ่มแบบในปัจจุบันก็ได้เกิดขึ้น
วิธีขจัดรสฝาดของลูกพลับที่ยังมีรสฝาดที่ใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น โดยทั่วไปจะใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือแอลกอฮอล์ และจำหน่ายโดยคงความแข็งของเนื้อลูกพลับไว้เท่าเดิม แต่ลูกพลับคาชชิที่รมควันในมุโระนั้นถูกผลิตออกมาเป็นสินค้าที่มีเนื้อนิ่ม ใช้มือปอกเปลือกได้โดยไม่ต้องใช้ของมีคมช่วย
ในช่วงรุ่งเรืองขีดสุด (ปี 1990) มีผู้ผลิต 90 ราย เนื้อที่เพาะปลูกรวม 17 เฮกตาร์ ปริมาณส่งขาย 32 ตัน แต่ปัจจุบันผู้ผลิตลดเหลือ 19 รายเพราะอายุมากขึ้น เนื้อที่เพาะปลูกในปี 2018 ลดเหลือ 3.6 เฮกตาร์ ปริมาณส่งขายลดเหลือ 10 ตัน ปัจจุบันในท้องถิ่นพยายามกับการฝึกสอนคนรุ่นหลัง เช่น ให้ทดลองมีประสบการณ์เก็บเกี่ยวลูกพลับ, ทัศนศึกษาห้องรมควันลูกพลับ, การศึกษาวิจัยลูกพลับคาชชิที่ประสานงานกับโรงเรียนมัธยมปลายในท้องถิ่น เป็นต้น
- ยุคเมย์จิ : ค.ศ.1868-1912 หนึ่งในการแบ่งยุคของญี่ปุ่น เป็นยุคที่ญี่ปุ่นผลัดเปลี่ยนจากระบบศักดินาโดยรัฐบาลบาคุฟุไปเป็นยุคสมัยใหม่
- เตาอิโรริ : ชื่อเรียกเตาในบ้านเรือนญี่ปุ่นแบบเดิม และอื่นๆ โดยขุดหลุมสี่เหลี่ยมบนพื้นห้องแล้วติดตั้งลงไป ขุดพื้นเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใส่ขี้เถ้าลงไปแล้วจุดไฟเผาถ่านหรือฟืนเวลาใช้งาน จุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นเตาผิงหรือทำอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมตัวของครอบครัวด้วยมาตั้งแต่โบราณ