ชิมิซึโมรินัมบะ

ชิมิซึโมรินัมบะ

หมายเลขจดทะเบียน 105
ชื่อของ GI ชิมิซึโมรินัมบะ
การแบ่งประเภท ผัก ธัญพืช พัลส์
วันที่ลงทะเบียน 2020/12/23
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอะโอโมริ
เมืองฮิโรซากิ, เมืองฮิราคาวะ, หมู่บ้านนิชิเมยะ เขตปกครองนาคาสึการุ, หมู่บ้านอินาคาดาเตะและเมืองโอวานิ เขตปกครองมินามิสึการุ
ติดต่อที่อยู่

Zairai Tsugaru Shimizumori Namba Brand Management Research Society

61 Kamenoko-machi Hirosaki City, Aomori

พื้นที่ผลิต

"ชิมิซึโมรินัมบะ" คือพริกพันธุ์ท้องถิ่นของเมืองฮิโรซากิที่ปลูกสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (1) ในบริเวณโดยรอบเมืองฮิโรซากิ จ.อาโอโมริ ลักษณะเด่นคือ รูปร่างเฉพาะตัวที่มีขนาดใหญ่และยาว ช่วงไหล่กว้าง
 แคปไซซินที่เป็นสารให้ความเผ็ดมีอยู่ในปริมาณน้อย มีความเผ็ดจางๆ เจือความหวานกับรสชาติที่เฉพาะตัว มีรสชาติที่เข้ากับวัตถุดิบอื่นๆ ได้ดี จึงทำให้เอาไปใช้เป็นเครื่องเทศได้มากมาย

"ชิมิซึโมรินัมบะ" ใช้พริกพันธุ์ท้องถิ่นฮิโรซากิในการเพาะปลูก
 สำหรับการเพาะปลูกนั้น จะเลือกต้นที่ไม่เป็นโรคจากในแปลงผลิตเมล็ด แล้วเก็บเมล็ดจากพริกที่มีรูปร่างเฉพาะตัวซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ จากนั้นนำไปเพาะที่แปลงเพาะต้นกล้า แล้วนำต้นกล้าที่โตแล้วไปใช้
 การดูแลจัดการเมล็ดพันธุ์ดำเนินการโดย "สมาคมวิจัยวางรากฐานแบรนด์ชิมิซึโมรินัมบะพันธุ์ท้องถิ่นสึการุ" ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกรผู้ผลิต, มหาวิทยาลัย, ส่วนภาครัฐ, ผู้แปรรูป เป็นต้น อนึ่ง ในยามที่การรักษาสายพันธุ์ "ชิมิซึโมรินัมบะ" ทำได้ยากภายใต้สถานการณ์ภัยธรรมชาติหรือแมลงศัตรูพืชระบาด และอื่นๆ ภายในแหล่งผลิต อนุญาตให้สามารถใช้เมล็ด "พันธุ์ท้องถิ่นฮิโรซากิ" แทนได้ ซึ่งเมล็ดพันธุ์นี้อยู่ในการดูแลของธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและสัตว์ ในสังกัดองค์กรวิจัยเกษตรกรรมและอาหารแห่งชาติ
 นอกจากนี้ อาจมีการวิเคราะห์หรือตรวจดินอย่างง่ายๆ ตามความจำเป็น

เกณฑ์ส่งขายของพริกสดคือ ต้องไม่มีแผล, ไม่เน่าเสีย, ไม่เลอะสกปรก ส่วนการผลิตเครื่องเทศนั้นจะอบแห้ง, ทำพริกป่นที่แหล่งผลิต ตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้

จุดเริ่มต้นของพริกพันธุ์ท้องถิ่นฮิโรซากินั้นถูกเล่าสืบต่อกันมาว่า มาจากการที่สึการุ ทาเมโนบุ เจ้าแคว้นรุ่นแรกของแคว้นฮิโรซากิ(2)นำพริกพันธุ์นี้กลับมาจากเกียวโต และเกษตรกรในฮิโรซากิก็เอามาปลูกกัน
 อุณหภูมิสูงสุดในฤดูเก็บเกี่ยวของพื้นที่นี้มีค่าเท่ากับอุณหภูมิเหมาะสมที่จะปลูกพริกพอดี การเพาะปลูกพริกพันธุ์ท้องถิ่นฮิโรซากิจึงรุ่งเรืองจนกระทั่งยุค 1970 การเพาะปลูกลดลงอย่างมากเพราะผลจากพริกนำเข้า และประมาณปี 2000 เหลือเพียง 1 ครัวเรือนเท่านั้นในเขตชิมิซึโมริที่ยังปลูกอยู่
 ปี 1997 นักวิจัยในท้องถิ่นเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อรักษาพันธุ์ผักดั้งเดิมไว้ โดยบรรยายเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณของพริกพันธุ์ท้องถิ่นฮิโรซากิ เน้นเกษตรกรผู้ผลิตในท้องถิ่นเป็นหลัก และตั้งชื่อให้ว่า "ชิมิซึโมรินัมบะ" เตรียมการสำหรับคืนชีพอีกครั้ง จนในปี 2004 สมาคมวิจัยก่อตั้งขึ้นด้วยการร่วมมือประสานงานระหว่างภาคอุตสาหกรรม, ภาครัฐ และแวดวงวิชาการ ร่วมประสานงานตั้งแต่การเพาะ, ดูแลจัดการเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงฝึกสอนการเพาะปลูก, จัดจำหน่าย ทำให้ปริมาณการผลิตค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 ปัจจุบันในปี 2020 จำนวนผู้ผลิตมี 61 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 0.69 เฮกตาร์ ปริมาณการผลิตต่อปีประมาณ 18 ตัน

  1. สมัยเอโดะ: ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคหนึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1603 ถึง 1867 เป็นช่วงที่รัฐบาลโชกุนได้รับการสถาปนาขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือกรุงโตเกียว) การเมืองการปกครองระบอบแคว้นซึ่งรวมศูนย์อยู่ที่เอโดะนำโดยตระกูลโทกูงาวะ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงที่อิเอยาซุ โทกูงาวะเป็นโชกุนรุ่นแรกจากตระกูลนี้
  2. แคว้นฮิโรซากิ: หนึ่งในเขตการปกครองภายใต้ระบอบโชกุน ซึ่งเป็นกลไกปกครองสมัยเอโดะ แคว้นฮิโรซากิทีตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของอดีตจังหวัดมุตสึ (ฝั่งตะวันตกของ จ.อาโอโมริในปัจจุบัน)ในสมัยเอโดะ เจ้าผู้ครองที่ดิน (เจ้าแคว้น) ที่ได้รับพื้นที่ (ดินแดน) เป็นผู้ปกครอง

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น