อิโยคิอิโตะ

อิโยคิอิโตะ
※提供元:愛媛県西予市蚕糸業振興協議会

หมายเลขจดทะเบียน 10
ชื่อของ GI อิโยคิอิโตะ
การแบ่งประเภท อื่นๆ
วันที่ลงทะเบียน 2016/02/02
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดเอะฮิเมะ
เซโยชิ
ติดต่อที่อยู่

สมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมไหมดิบ เซโยชิ จังหวัดเอะฮิเมะ

พิพิธภัณฑ์ซิลค์ เซโยชิ โนะมูระ 8-177-1 โนะมูระ, โนะมูระโจ, เซโยชิ, จังหวัดเอะฮิเมะ

พื้นที่ผลิต

"อิโยคิอิโตะ" เมื่อเปรียบเทียบกับไหมดิบทั่วไปแล้วไหมดิบนั้นจะมีลักษณะที่โดดเด่นคือความแวววาวอย่างมีรสนิยมคล้ายกับดอกคาร์มิเลียสีขาว มีความสง่างามและมีสัมผัสที่นิ่มฟู เมื่อนำมาใช้เป็นสิ่งทอ นอกจากจะรู้สึกได้ถึงความนิ่มและความอบอุ่นแล้ว ชุดกิโมโนที่ได้จากไหมจะไม่ยับง่าย ถ้าเป็นโอบิคาดเอวก็จะกระชับแน่นอย่างดี กล่าวได้ว่าเป็นไหมที่มีคุณภาพที่ยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ คุณภาพดังกล่าวนั้นได้รับการยอมรับอย่างสูง ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเส้นด้ายที่มอบให้แก่อิเสะจินกู (ศาลเจ้าที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น) และพระราชวงศ์ของจักรพรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณกาล

ในเขตทำการผลิตที่เป็นตัวแทนของในประเทศนี้ กรรมวิธีการสาวไหมจากรังไหมที่อบแห้งด้วยความร้อนนั้นจะถูกนำมาใช้ วิธีการอบแห้งด้วยความร้อนรังไหมนี้ดักแด้ที่อยู่ข้างในจะไม่ฉีกรังไหมออกมาเป็นผีเสื้อ และเนื่องจากอยู่ในสภาพอบแห้งจึงไม่ทำให้เชื้อราเกิดขึ้นที่รังไหมด้วย ในการสาวไหมในช่วงเวลาตลอดปีนั้นถือเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสำหรับการรักษาสภาพของรังไหมที่เก็บเกี่ยวได้ปริมาณมากในช่วงเวลาที่กำหนดนั้นๆ ให้รักษาสภาพอยู่ได้นานๆ

ในทางกลับกัน การผลิต "อิโยคิอิโต" การที่นำรังไหมดิบมาทำนั้นถือเป็นจุดที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่สุด รังไหมนั้นเป็นโปรตีนที่ตัวหนอนได้สร้างขึ้น หากสัมผัสกับความร้อนแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม จะเปลี่ยนเป็นลักษณะที่แข็งผิดไปจากเดิม เพื่อเป็นการนำจุดดีที่มีอยู่ของไหมดิบมาใช้นั้น จากพื้นฐานความคิดที่ว่าไหมดิบที่สาวจากรังไหมดิบจะดีกว่า ดังนั้น "อิโยคิอิโตะ" จึงนำกรรมวิธีที่มีมาแต่ดั้งเดิมคือเก็บรังไหมที่อยู่ในสภาพที่ดิบไว้ในตู้เย็นนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ด้วยกรรมวิธีเช่นนี้ เกลียวของเส้นใยของไหมที่ได้จากการพ่นเป็นรูปตัว S ของหนอนดักแด้นั้นจะยังคงสภาพเช่นนั้นไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับไหมดิบของเขตผลิตอื่นๆ แล้ว "อิโยคิอิโตะ" จะมีลักษณะที่พิเศษคือมีน้ำหนักต่อปริมาตรต่ำกว่า 2 ใน 3 และมีความนุ่มฟู

การทำการสาวไหมโดยใช้น้ำที่เป็นต้นกำเนิดของเทือกเขาชิโคคุ ทำโดยใช้เครื่องจักรขับเคลื่อนด้วยมือตามวิธีดั้งเดิมแต่โบราณ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้ในเขตผลิตอื่นๆ แล้ว เนื่องจากทำด้วยอัตราความเร็วที่ต่ำไปพร้อมๆ กับควบคุมความตึงของเส้นไหม ซึ่งเป็นการยุ่งยากและประสิทธิภาพในการผลิตนั้นด้อยกว่าแต่ด้วยกรรมวิธีนี้ทำให้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงามคือทำให้ได้มาซึ่งความแวววาวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและความนุ่มมือเมื่อสัมผัส

อุตสาหกรรมการเลี้ยงไหมในพื้นที่นี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์และทางภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นสมัยเมจิ (ราวๆ คริสต์ทศวรรษ[A1] 1900) และเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่ในช่วงต้นสมัยโชวะ (ราวๆ คริสต์ทศวรรษ[A2] 1930-1940) แต่ได้เสื่อมถอยความนิยมลงมาเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากการลดความต้องการของชุดกิโมโนในประเทศและการตีตลาดของไหมดิบราคาถูกที่ผลิตในต่างประเทศ ในปัจจุบัน มีเพียงพิพิธภัณฑ์ซิลค์โนะมูระเท่านั้นที่ทำการรักษาวัฒนธรรมและกรรมวิธีการผลิตด้วยเครื่องจักรดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ สืบทอดการผลิตอิโยคิอิโตะอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความปรารถนาในสินค้าเกรดสูงของผู้บริโภคในทุกวันนี้

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น