อะโอโมริคะชิสุ

อะโอโมริคะชิสุ
※提供元:青森県 広報広聴課

หมายเลขจดทะเบียน 1
ชื่อของ GI อะโอโมริคะชิสุ
การแบ่งประเภท ผลไม้
วันที่ลงทะเบียน 2015/12/22
พื้นที่ทำการผลิต จังหวัดอะโอโมริ
โทเซจิอิคิ (อะโอโมริชิ, ฮิกาชิซึกะรุกุน ฮิระไนมาจิ, ฮิกาชิซึกะรุกุนอิมะเบะซึมาจิ, ฮิกาชิซึกะรุกุนโยโมงิทะมุระ, ฮิกาชิซึกะรุกุนโซะโตะกะฮามะมาจิ)
ติดต่อที่อยู่

อะโอโมริคะชิสุโนะไค

2F 2-4-6, Sakaemachi, Aomori City, Aomori Prefecture

http://www.aomoricassis.com/

พื้นที่ผลิต

"อะโอโมริ คะชิสุ" เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมันในปีค.ศ. 1965 มีลักษณะเด่นคือมีขนาดเม็ดเล็กและมีเปลือกหนา มีรสเปรี้ยวอมหวานอมขม และอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin)

ในต่างประเทศในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์ของคะชิสุกันอย่างแพร่หลาย ทำการเพาะปลูกสายพันธุ์ที่มีลักษณะพิเศษต่างๆ อาทิเช่นพันธุ์ที่มีรสเปรี้ยวน้อยๆ ซึ่งรับประทานผลสดได้ง่ายๆ, พันธุ์ที่มีช่วงสุกงอมในช่วงเดียวกันซึ่งง่ายต่อการใช้เครื่องจักรในการทำการเก็บเกี่ยวและพันธุ์ที่มีเม็ดขนาดใหญ่เป็นต้น ในส่วนของ "อะโอโมริคะชิสุ" นั้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้าก่อนที่จะมีการปรับปรุงสายพันธุ์ในต่างประเทศ จึงมีขนาดเม็ดเล็กและมีเปลือกหนา มีรสเปรี้ยวอมหวานอมขม ด้วยลักษณะดังกล่าวนี้จึงถือว่ามีความใกล้เคียงกับรสชาติและลักษณะของคะชิสุพันธุ์แท้ดั้งเดิม มีการนำเอารสชาติที่ออกรสเปรี้ยวสดชื่นและกลิ่นหอมที่มีความโดดเด่นเฉพาะของอะโอโมริคะชิสุนั้นมาใส่ความหวานและผสมผสานกับผลิตภัณฑ์นมซึ่งนับได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งต่อการนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ในคะชิสุนั้นยังอุดมไปด้วยแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งในโพลิฟีนอล (polyphenol) แต่สำหรับ "อะโอโมริคะชิสุ" นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีแอนโทไซยานิน (anthocyanin) นั้นมากเป็นพิเศษ การที่สารที่ทำให้เกิดสีเป็นสีม่วงของแอนโทไซยานิน (anthocyanin) นั้นมีอยู่จำนวนมากที่เปลือกของผลคะชิสุ จึงคาดว่ามาจากเปลือกของ "อะโอโมริคะชิสุ" นั้นมีความหนาและมีเม็ดเล็กซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นโดยเฉพาะ

ที่มาของการเริ่มทำการเพาะปลูก "อะโอโมริคะชิสุ" นั้นได้เริ่มมาจากในปีค.ศ. 1965 ในระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศของนายทะเคะโอะ โมจิซึคิซึ่งเป็นอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรซากินั้นได้รับเอาต้นกล้าของคะชิสุจากมิสเตอร์เคะมุร่าซึ่งเป็นนักวิจัยของประเทศเยอรมันซึ่งได้นำเสนอว่าอะโอโมริมีสภาพทางภูมิอากาศที่เหมาะต่อการปลูกคะชิสุ อาจารย์โมจิซึคิได้นำต้นกล้าของคะชิสุที่ได้รับมานั้นมาปลูกที่บ้านของตนซึ่งอยู่ในตัวเมืองอะโอโมริ ในช่วงแรกๆ เป็นการปลูกเฉพาะส่วนตัวแต่เนื่องจากผลที่เก็บเกี่ยวได้มีรสชาติดีและอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ทางสารอาหารอีกทั้งเล็งเห็นว่าสภาพทางภูมิอากาศของอะโอโมริก็มีความเหมาะสมดีจึงได้ทำการแยกต้นกล้าและนำไปบริจาคให้แก่ศูนย์แนะนำการเกษตรของเมืองอะโอโมริ ในปีค.ศ.1977 ทางศูนย์ก็ได้เพิ่มจำนวนต้นกล้าและนำไปเสนอให้แก่สหกรณ์การเกษตรของเมืองและได้ทำการเพาะปลูกและนี่ก็ได้กลายเป็นที่มาที่ทำให้การทำการเพาะปลูกคะชิสุได้หยั่งรากลึกเป็นที่แพร่หลายของเมืองอะโอโมริ

ในตอนแรกเริ่มนั้นมีความจำกัดในขนาดของการทำการเพาะปลูกอยู่ แต่ในปีค.ศ. 1985 ได้มีการจัดตั้ง "อะโอโมริคะชิสุโนะไค (ปัจจุบัน)" ขึ้น ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นจุดหนึ่งในการพัฒนา และในปัจจุบันอะโอโมริก็ได้กลายมาเป็นแหล่งที่ทำการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศซึ่งโดดเด่นเป็นที่จับตามองจากทั่วทั้งประเทศ

Back to
top

เผยแพร่ความมีเสน่ห์อันน่าสนใจของผลิตภัณฑ์พิเศษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น